บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่นในการป้องกันและแก้ไขการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด
Roles of Local Administrative Organizations in Khon Kaen Province in the Prevention Juvenile Drug Abuse and Delinquency.
คำสำคัญ:
การกระทำความผิดอาญา, ยาเสพติด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
การใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและรัฐบาลไทยพยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกาเงื่อนไขที่ทำให้การจัดการประสบความสำเร็จ และเสนอแนวทางเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้วิจัยใช้การออกแบบวิจัยแบบกรณีศึกษาหลายกรณีแบบองค์รวม และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พื้นที่ในการวิจัย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ เทศบาลตำบลบ้านเป็ด เทศบาลตำบลดอนหัน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนช้าง และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4
ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนโดยตรง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนเป็นเพียงดำเนินการในลักษณะการร่วมมือแบบหุ้นส่วน (Partnership) เท่านั้น กล่าวคือ องค์กรปกครอส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานต่างๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมโดยการสนับสนุนอาคารสถานที่และประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมการฝึกอบรม เป็นต้น เงื่อนไขสำคัญต่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร ความยึดมั่นต่อสาธารณประโยชน์ของบุคลากร การสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอ และการให้ความร่วมมือจากตัวเด็กและเยาวชน ครอบครัวของเด็กและเยวชน และคนในชุมชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์