การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ การใช้กลวิธีในการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
The Development of Reading Instructional Model Through Transactional Strategies Instruction, Project-Based Learning, and Blended Learning to Enhance English Reading Ability, Strategy Use and Creative Thinking for Undergraduate Students of Faculty of Education
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน, กลวิธีปฏิสัมพันธ์, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, กลวิธีในการอ่าน, ความคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ 2) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาการใช้กลวิธีการอ่านของผู้เรียน 4) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำโครงงานภาษาอังกฤษ และ 5) ศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ 8 แผนการเรียนรู้ และแบบฝึก 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3) แบบสำรวจการใช้กลวิธีการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน 4) สมุดบันทึกการเรียนรู้ 5) เกณฑ์การประเมินโครงงาน และ 6) ประเด็นสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทผสมผสานวิธี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และค่าทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและการประเมินผล เรียกว่า POMME Model มีการดำเนินงาน 5 ขั้นคือ ขั้นเตรียมการ (P) ขั้นปฏิบัติการ (O) ขั้นการสร้างแผน (M) ขั้นจัดทำและนำเสนอ (M) และขั้นการประเมินผล (E) ซึ่งรูปแบบได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คนว่าอยู่ในระดับดีมาก
ผลการทดลองการใช้รูปแบบได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้
- ประสิทธิภาพของรูปแบบมีค่า 80.51 / 81.09 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และคะแนนก่อนและหลังเรียนพบว่าคะแนนการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- คะแนนทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษทุกทักษะของผู้เรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- คะแนนเฉลี่ยความบ่อย-ไม่บ่อยในแต่ละการใช้กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความคิดสร้างสรรค์ของโครงงานจากกระบวนการและจากผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐาน
- จากการสอบถามมีความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ พบว่า ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นกับการเรียนภาษาอังกฤษ และสามารถเพิ่มพูนทักษะการอ่านของตนเองได้มากขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์