กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษา หลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร
An Academic Management Strategy of Bi-lingual Schools (Thai-English) Under Bangkok Metropolitan Administration.
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 3 ขั้นตอน: ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษา จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้บริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษา หลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้อำนวยการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 42 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานโรงเรียนสองภาษา โดยใช้เทคนิคการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลแบบการตอบสนองคู่ ด้วยค่า Modified Priority Needs Index: PNImodified ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) การส่งเสริมความสามารถในการทำงานข้ามวัฒนธรรม ประกอบด้วยกลยุทธ์รอง 5 ด้าน คือ การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ การพัฒนาความสามารถและสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการ และการสนับสนุนวิสัยทัศน์เชิงบวก และ 2) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยกลยุทธ์รอง 7 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการจัดการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ การพัฒนาการวัดและประเมินผล การพัฒนาการนิเทศการศึกษา การพัฒนาการแนะแนวการศึกษา การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาการวิจัยเพื่อการศึกษา ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของกลยุทธ์ ที่จะนำไปใช้ในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์