ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟนกับโรคสมาธิสั้นในเด็กนักเรียนชั้นประถมปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

Main Article Content

ธนพงษ์ สื่อสัตรัตน์

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: การศึกษาในโรคสมาธิสั้นส่วนใหญ่ พบว่าปัญหาการใช้สื่อในเด็กมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น แต่มีเพียงบางส่วนที่ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้สมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน


แบบวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง


วัสดุและวิธีการ: นักเรียนชั้น ป. 4-6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลนครราชสีมา โดยสอบถามข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ตโฟนฉบับสั้นภาษาไทย (SAS-SV-TH) และประเมินโรคสมาธิสั้น (SNAP-IV) สำหรับครูและผู้ปกครอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับโรคสมาธิสั้นโดยสถิติแบบถดถอยพหุโลจิสติก


ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วม 144 ราย พบมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้นได้แก่ เพศหญิง (adjusted OR = 0.15, 95%CI: 0.056-0.392) ระดับชั้นการศึกษา ป.5(adjusted OR = 0.26, 95%CI: 0.072-0.960) การนอนรวมกับบิดา/มารดา(adjusted OR = 0.27, 95%CI: 0.073-0.977) การใช้เกมส์ออนไลน์(adjusted OR = 0.33, 95%CI: 0.132-0.838) และ การมีการจำกัดการใช้งานสมาร์ตโฟน(adjusted OR = 0.35, 95%CI: 0.126-0.982) ส่วนปัจจัยหลักการติดสมาร์ตโฟนพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ


สรุป: การติดสมาร์ตโฟนพบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยมีความสัมพันธ์ดังกล่าวได้แก่เพศหญิง ระดับชั้นการศึกษา ป.5 การนอนรวมกับบิดา/มารดา การใช้เกมส์ออนไลน์ และ การมีการจำกัดการใช้งานสมาร์ตโฟน เป็นปัจจัยที่ควรเฝ้าระวังความเสี่ยงในโรคสมาธิสั้นของเด็กนักเรียน และเป็นปัจจัยในการศึกษาต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fayyad J, Sampson N, Hwang I. The descriptive epidemiology of DSM-IV Adult ADHD in the World Health Organization World Mental Health Surveys. Atten Defic Hyperact Disord 2017;9:47-65.

Ruth J, Lindsay P. Chronic adversities. In :Michael R, Eric T, eds. Child and adolescent psychiatry fourth edition. India: Replika press. 2002, p. 261-72

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน,โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, พัชรินทร์ อรุณเรือง, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล.ความชุกโรสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2556;21:66-75.

รพีพรรณ วิเศษ. จิตเวชโคราช เตรียมเติมกำลังคนเพิ่มพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่นใน 4 จังหวัดอีสานล่าง ขยายบริการเด็กสมาธิสั้น ออทิสติก ใกล้บ้าน[อินเตอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก /https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG190827222214412

วิฐารณ บุญสิทธิ. โรคสมาธิสั้น:การวินิจฉัยและรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555;57(4):373-386.

กันยา พาณิชย์ศิริ, เบญจพร ตันตสูติ. การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน.เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559;61:191-204.

อภิรพี เศรษฐรักษ์ ตันเจริญวงศ์, ศรีรัฐ ภักดีรณชิต, ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล. พฤติกรรมการใช้หน้าจอของเด็กไทยวัย 0-3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2561;6:60-9.

Nikkelen W. C. S, Valkenburg M. P, Huizinga M, Bushman J. B. Media use and ADHD-related behaviors in children and adolescents: a meta-analysis. Developmental Psychology 2014;50(9):2228-41.

Kim S. G, Park J, Kim H. T, Pan Z, Lee Y, McIntyre S. R. The relationship between smartphone addiction and symptoms of depression, anxiety, and attention-deficit/hyperactivity in South Korean adolescents. Annals of General Psychiatry 2019;18:1-8.

สุภาวดี เจริญวานิช, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนฉบับสั้น ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2561;27(1):25-36.

สมัย ศิริทองถาวร. คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นสำหรับผู้ปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่:บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด;2560.

Thapar A, Cooper M. Attention deficit hyperactivity disorder [Internet]. 2015[cited 24 june 2022]. Available from:http://dx.doi.org/10.1016/S0140-6736(15)00238-X.

Cavalli E,Anders R, Chaussoy L, Herbillon V, Franco P, Putois B. Screen exposure exacerbates ADHD symptoms indirectly through increased sleep disturbance. Sleep Medicine 2021;83:241-247.

Granic I, Lobel A, Engels C. M. E. R. The Benefits of Playing Video Games. American Psychologist 2014;69(1):66-78.

Sunil, S., Sharma, M. K., & Anand, N. Impact of PlayerUnknown’s Battlegrounds (PUBG) on mental health. Medico-Legal Journal 2021, 89(2), 99–101.

ปรีญา สุริพล, สุคนธา ศิริ, ดุสิต สุจิรารัตน์, ศุภชัย ปิติกุลตัง. การใช้สื่อเทคโนโลยีกับโรคสมาธิสั้น ในนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนต้น. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต 2562;1:104-113.