การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 30 วันของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ของโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฏฐณิชา นพรัตน์
ญาณี โชคสมงาม
ชนกพร บัวชุม
รอยพิมพ์ เลิศวิริยานันท์
วิชุดา จิรพรเจริญ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : หอผู้ป่วยในแบบประคับประคองของโรงพยาบาลสันทรายมีอัตราการครองเตียงสูงและมีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 30 วันของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง


ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยแบบประคับประคองที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จำนวน 217 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค


ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 30 วัน จำนวน 74 คน (ร้อยละ 34.10) ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคกลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็ง (ร้อยละ 56.76) อายุเฉลี่ย 71.59 (SD 12.99) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 62.16) โดยปัจจัยที่มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล (aOR=2.93, p=0.012, 95%CI 1.26-6.80) ผู้ป่วยเพศชาย (aOR=1.71, p=0.079, 95%CI 0.94-3.12)  และการมีปัญหาทางจิตเวช (aOR=1.41, p=0.089, 95%CI 0.94-2.11)


สรุปผลการศึกษา : อุบัติการณ์ของการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 30 วันของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองเท่ากับร้อยละ 34.10 โดยปัจจัยที่มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล ผู้ป่วยเพศชาย และการมีปัญหาทางจิตเวช ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินและดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศชายหรือมีปัญหาทางจิตเวช

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

นริชา อัศวธีรากุล, ภัคคพงศ์ วงศ์คำ และ ถิราพร พ่วงโพธิ์. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด; 2556.

World health organization. Palliative care [Internet]; 2019 [cited 2021 July 2]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2017.

. นิลวรรณ นิมมานวรวงศ์. การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับผู้ป่วยและ ครอบครัว[Internet]; 2563 [cited 2021 September 10] Available from: https://www.phyathai.com/article_detail/3214/th/การดูแลแบบประคับประคอง _(Palliative_Care)_ สำหรับผู้ป่วยและครอบครัว

. Akkayagorn L, Chatrkaw P, Sriratanabal P, Manasvanich B, Sa-nguansap T, Meethavorn N, Udayachalem C. Definition and influencing factors of difficulty hospital discharge using focus group. Chula Med J 2017 Jul–Aug;61(4):511-24

. Dagli O, Tasdemir E, Ulutasdemir N. Palliative care infections and antibiotic cost: a vicious circle. Aging Male. 2020 Jun;23(2):98-105. doi:10.1080/13685538.2019.1575353. Epub 2019 Mar 1. PMID: 30821574.

. Tianthong C, Pirojkul S, Piasupan P. Readmission of Palliative Patients at Karunruk Palliative Care Center, Srinagarind Hospital. Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. 2021 Aug 20; Srinagarind Med J 2021; 36(4)

. ชนกพร บัวชุม. การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่องานดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (Home based service) ของโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. 2019.

งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุขโรงพยาบาลสันทราย. รายงานประจำปี 2563 โรงพยาบาลสันทราย. 2563.

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180.

. Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power

calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.

. อรวรรณ ศิลปะกิจ และคณะ. แบบประเมินภาระการดูแล Zarit Burden ภาษาไทย ฉบับ 12 ข้อ. Journal of Mental Health of Thailand 2015; 23(1)

. Grim RD, McElwain D, Hartmann R, Hudak M, Young S. Evaluating causes for unplanned hospital readmissions of palliative care patients. Am J Hosp Palliat Care. 2010 Dec;27(8):526-31. doi: 10.1177/1049909110368528. Epub 2010 Aug 16. PMID: 20713425.

Ono T, Tamai A, Takeuchi D, Tamai Y. Factors related to readmission to a ward for dementia patients: sex differences. Psychiatry Clin Neurosci. 2011 Aug;65(5):490-8. doi: 10.1111/j.1440-1819.2011.02251.x. Erratum in: Psychiatry Clin Neurosci. 2011

Oct;65(6):608. PMID: 21851458.

. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัย เสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

. Guo DY, Chen KH, Chen IC, Lu KY, Lin YC, Hsiao KY. The Association Between Emergency Department Revisit and Elderly Patients. J Acute Med. 2020 Mar 1;10(1):20-26. doi: 10.6705/j.jacme.202003_10(1).0003. PMID: 32995151; PMCID: PMC7517912.

. Edmondson D, Green P, Ye S, Halazun HJ, Davidson KW (2014) Psychological Stress and 30-Day All-Cause Hospital Readmission in Acute Coronary Syndrome Patients: An Observational Cohort Study. PLoS ONE 9(3): e91477. doi: 10.1371/journal.pone.0091477

Berges IM, Amr S, Abraham DS, Cannon DL, Ostir GV. Associations between Depressive Symptoms and 30-day Hospital Readmission among Older Adults. J Depress Anxiety. 2015 Apr;4(2):185. doi: 10.4172/2167-1044.1000185. Epub 2015 Apr 24. PMID: 27134802; PMCID: PMC4849887.

. Ampalam P, Gunturu S, Padma V. A comparative study of caregiver burden in psychiatric illness and chronic medical illness. Indian J Psychiatry. 2012;54(3):239-243. doi:10.4103/0019-5545.102423

. นิชธิมา เสรีวิชยสวัสดิ์ และคณะ. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. Journal of public health nursing; 2014; 28(3): 30-40.

. ชาลินี สุวรรณยศ และคณะ. Role of Nurse in Decrease Caregiving Burden with Dementia Patients. Nursing Journal; 2018; 45(40): 229-239.