ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระดับตำบลของจังหวัดพะเยา

Main Article Content

Sumet Najarus
ญาณี โชคสมงาม
ธิติพันธุ์ อวนมินทร์
วิทธวัช จอมคำ
วิชุดา จิรพรเจริญ

บทคัดย่อ

บทนำ ตำบลเจริญราษฎร์ จังหวัดพะเยา มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้เริ่มโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของโปรแกรมดังกล่าว


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน


วิธีการ การศึกษาแบบย้อนหลังในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 78 คน ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2564 โดยศึกษา 1. ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2. ค่าระดับน้ำตาลในเลือดตอนอดอาหารจากฐานข้อมูลของผู้ป่วย ใช้สถิติ Pair t-test และ McNemar's test ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม


ผลวิจัย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน มีอายุเฉลี่ย 51 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.26) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 67.95) หลังสิ้นสุดโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี-ดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.49 เป็นร้อยละ 85.90 (p<0.001) ทุกคนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี-ดีมาก (p<0.001) และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดตอนอดอาหารลดลงจาก 109.09 mg/dl เป็น 99.45 mg/dl (p<0.001) และมีผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ (FBS < 100 mg/dl) ได้จำนวนทั้งหมด 47 คน คิดเป็นร้อยละ 60.26 (95%CI=0.4940-0.7112)


สรุป โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานกลายเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

AMERICAN DIABETES ASSOCIATION (ADA). Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. DIABETES CARE, VOLUME 34, SUPPLEMENT 1, JANUARY 2011.

Wilson C. Y. Yip et al. Prevalence of Pre-Diabetes across Ethnicities: A Review of Impaired Fasting Glucose (IFG) and Impaired Glucose Tolerance (IGT) for Classification of Dysglycaemia. Nutrients 2017, 9, 1273.

DECODE Study Group. Age- and sex-specific prevalences of diabetes and impaired glucose regulation in 13 European Cohorts. Diabetes Care 2003; 26: 61–69.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ และคณะ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. หน้าที่ 2-4,12-23. สืบค้นจาก : http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13865&tid=&gid=1-015-005 [1 กุมภาพันธ์ 2565]

Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นจาก : https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg/443-guideline-diabetes-care-2017 [10 กุมภาพันธ์ 2565]

Fatima Al Sayah et al. Health Literacy and Health Outcomes in Diabetes: A Systematic Review. J Gen Intern Med 2012; 28(3): 444–52.

SARANG KIM et al. Association of Health Literacy With Self-Management Behavior in Patients With Diabetes. DIABETES CARE 2004; 27(12): 2980-2982.

Shu-Chuan Chang et al. The Effectiveness of Different Health Education Strategies in People with Pre-diabetes: A Randomized Controlled Trial. Journal of Health Science 2016, 6(2): 22-29

K. Mohsina Hyder et al. Impact of prediabetes education program on Knowledge, attitude and practice among prediabetic population of south India. Preventive Medicine Reports 23 (2021) 101395.

สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (ครบองค์รวม 3อ + 1ย.) ฉบับปฐมฤกษ์ปี 2561. ธันวาคม 2562. หน้าที่ 39-46. สืบค้นจาก : https://mwi.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/mwi/n2281_9590ec7c672400becc39e6605ac763c0_article_20200115150105.pdf [13 กุมภาพันธ์ 2564]

แบบสำรวจปัญหาของชุมชนในเขต ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา ปี พ.ศ. 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจริญราษฎร์ (2563).

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 177-178.

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University.

Yuwarat Moungngern RN et al. Effects of a Health Promotion Program Conducted by Nurses on Stabilization of HbA1C in Subjects at Risk for Diabetes: A Phase III Randomized Controlled Trial. J Med Assoc Thai 2018;101:1343-8.

Don Nutbeam. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. Volume 67, Issue 12, December 2008, Pages 2072-2078.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. 2560. หน้าที่ 1-4. สืบค้นจาก : https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/021c6b23-e30d-eb11-80ec-00155d09b41f [7 กุมภาพันธ์ 2565]

Ask Me 3: Good Questions for Your Good Health. (Online). Available : http://www.ihi.org/resources/Pages/Tools/Ask-Me-3-Good-Questions-for-Your-Good-Health.aspx [2022, Jan 10].

สขรส. กรมอนามัย. เครื่องมือสร้างความรอบรู้เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสุขภาพของตนเอง Ask Me 3 and Teach-back. ธันวาคม 2561. หน้าที่ 1-8. สืบค้นจาก : https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/ask-me-3-teach-back/ [17 กุมภาพันธ์ 2565]

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ (Health Literacy Toolkit in Health Care Services). 2562. หน้าที่ 12-32. สืบค้นจาก : http://www.hed.go.th/linkHed/389. [10 กุมภาพันธ์ 2565]

Sandra N Ofori and Chioma N Unachukwu. Holistic approach to prevention and management of type 2 diabetes mellitus in a family setting. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy 2014:7 159–168.

Juanamasta, et al. Holistic Care Management of Diabetes Mellitus: An Integrative Review. International Journal of Preventive Medicine 2021, 12: 69.

แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (รอบที่ 1) (ออนไลน์). (2563). สืบค้นจาก : http://www.hed.go.th/linkHed/424?fbclid=IwAR0CUlu-Da53jTYiim7ehjpYDoMj2A-3K4JHCwEe-aURLdhxHMMlucqPBRk [15 กุมภาพันธ์ 2564]

Hyunjin Lee et al. Related Factors for Impaired Fasting Glucose in Korean Adults: A Population Based Study. BMC Public Health. 2021 Dec 11;21(1):2256.

Wanich Suksatan et al. Association between Health Literacy, Self-care Behavior, and Blood Sugar Level among Older Patients with Type 2 Diabetes in Rural Thai Communities. Ann Geriatr Med Res 2021; 25(4): 318-323.

นางนันท์ลภัส ขันตี. แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2 ประจาปีงบประมาณ 2563 เขตสุขภาพที่ 1 ไตรมาสที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก : https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200620159262925669.pdf [13 กุมภาพันธ์ 2564]

Akjchara Jitjaiyen, et al. The Effects of a Health Literacy Enhancement Program on Health Literacy and Preventive Health Behavior of Prediabetes Type 2 in a Community in Samut Sakhon Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses. Vol. 22 No.1 January - April 2021

Chalobol Chalermsri, et al. The Effectiveness of Holistic Diabetic Management between Siriraj Continuity of Care Clinic and Medical Out-Patient Department. J Med Assoc Thai 2014; 97 (Suppl. 3): S197-S205.