ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักถึงการทำพินัยกรรมชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุ

Main Article Content

รุ่งทิวา กังวานสุระ
ทนงสรรค์ เทียนถาวร
พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ
กุลเชษฐ์ เกษะโกมล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา   “พินัยกรรมชีวิต” (Living will) คือหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตตน ปัจจุบันพินัยกรรมชีวิตยังไม่ได้ใช้ในผู้สูงอายุอย่างแพร่หลาย จึงเป็นที่มาของการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักถึงการทำพินัยกรรมชีวิตในผู้สูงอายุ


วัตถุประสงค์ หาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักถึงการทำพินัยกรรมชีวิตของผู้สูงอายุ


วิธีการวิจัย เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed method) ส่วนที่หนึ่งเป็นการศึกษาภาคตัดขวาง เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิตโดยใช้แบบสอบถาม และส่วนที่สองเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์ เพื่ออธิบายกลไกของการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิต


ผลการวิจัย จากการตอบแบบสอบถามในการศึกษาส่วนที่หนึ่ง ผู้สูงอายุจำนวน 100 คน พบว่ามีผู้ตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิต 32 คน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิต ได้แก่ อาชีพข้าราชการเกษียณ (adjust OR 13.138 (95%CI ;1.351-127.8, p 0.026)) เคยดูแลญาติในวาระสุดท้าย (adjust OR 23.43 (95%CI ;2.4-224, p 0.006)) และการมีทัศนคติที่ดีต่อพินัยกรรมชีวิต (adjust OR 28.85 (95%CI ;4.6-179, p <0.001)) หลังจากตอบแบบสอบถามผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับสมุดเบาใจซึ่งเป็นพินัยกรรมชีวิตรูปแบบหนึ่ง ผู้เข้าร่วมที่ตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิตจะได้รับการเชิญเข้าร่วมงานวิจัยส่วนที่สอง ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์ (n=21) พบว่าประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิต ได้แก่ (1) ความพร้อมในการเผชิญหน้ากับความตาย (2) ความรู้และทัศนคติต่อพินัยกรรมชีวิต (3) บทบาทของแพทย์ สมุดเบาใจและบริบททางสังคม


สรุปผลการวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิตต้องพิจารณาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งปัจจัยความพร้อมส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัวซึ่งส่งผลต่อความยินยอมในการทำพินัยกรรมชีวิต ปัจจัยด้านสังคม เช่น ความคิดเห็น ศาสนา ที่มีผลต่อความพร้อมเผชิญหน้ากับความตาย นอกจากนี้บทบาทของแพทย์และสมุดเบาใจมีส่วนในการเสริมสร้างอำนาจในการตัดสินใจของผู้ร่วมวิจัยเช่นกัน


คำสำคัญ : พินัยกรรมชีวิต, ความตระหนัก, สมุดเบาใจ, ผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต (Living will). นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

สำนักส่งเสริมสิทธิและสร้างสังคมสุขภาวะ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด สิทธิการตายอย่างธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี: สามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์; 2558.

กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย. (2553, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอน 65ก. หน้า 18-22

Alano GJ, Pekmezaris R, Tai JY, Hussain MJ, Jeune J, Louis B, El-Kass G, Ashraf MS, Reddy R, Lesser M, Wolf-Klein GP. Factors influencing older adults to complete advance directives. Palliat Support Care. 2010; 8(3): 267-275.

Alshanberi A, Tallant C, Huddleston P, Imam A, Glidan A, et al. (2018) Advance Directives in Patients Over 60 Years Old: Assessment of Perceived Value and Need For Education in the Outpatient Setting. Arch Med. 2018; 10(4): 1-5.

Phenwan T, Srisuwan P, Tienthavorn T. Living Will Awareness and Collective Trust between Physicians, Cancer Patients and Caregivers: A Qualitative Study. J Palliat Care Med.2015; 5:205.

พศิน ภูริธรรมโชติ.ทัศนคติต่อการทำพินัยกรรมชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลบรบือ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 2560; 1:39-50.

รุ่งมณี พุกไพจิตร์, สุธี อยู่สถาพร, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. การตัดสินใจใช้สิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วยทหารผ่านศึก. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2561; 1:1-14.

Sudarat Sittisombut, Colleen Maxwell, phd, Edgar J. Love, Chitr Sitthi-Amorn. Physicians’ attitudes and practices regarding advanced end-of-life care planning for terminally ill patients at Chiang Mai University Hospital, Thailand. Nursing and Health Sciences. 2009; 11:23–28.

ผศ.ดร.ธิราภรณ์ จันทร์ดา. แบบสอบถามความรู้และทัศนคติของประชาชนไทยต่อการทำพินัยกรรมชีวิต[อินเทอร์เน็ต]. 2020. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news/announcements/10jul2020-1553

Elizabeth R. Gamble, Penelope J. McDonald, Peter R. Lichstein. Knowledge, Attitudes, and Behavior of

Elderly Persons Regarding Living Wills. JAMA. 1991;151:277-80

Cynthia J. Stolman, John J. Gregory, Dorothea Dunn, Jeffrey L. Levine. Evaluation of Patient, Physician, Nurse, and Family Attitudes Toward Do Not Resuscitate Orders. JAMA. 1990;150:653-58

Mehran Sam, MSc; Peter A. Singer. Canadian outpatients and advance directives: poor knowledge and little experience but positive attitudes. Canadian Medical Association Journal. 1993;148:1497-502

Van der Steen JT, Van Soest-Poortvliet MC, Hallie-Heierman M, Onwuteaka-Philipsen BD, Deliens L, de Boer ME, et al. Factors associated with initiation of advance care planning in dementia: a systematic review. J Alzheimers Dis. 2014;40(3):743-57.

Hutchison LA, Raffin-Bouchal DS, Syme CA, Biondo PD, Simon JE. Readiness to participate in advance care planning: A qualitative study of renal failure patients, families and healthcare providers. Chronic Illn. 2017;13(3):171-87.

ชนิกานต์ วงศ์ประเสริฐสุข, ธัญญรัตน์ ประมวลวงษ์ธีร. ทัศนคติต่อการเขียนแสดงเจตนารมณ์ของตนเองในวาระสุดท้ายของชีวิต. J Med Health Sci. 2018;25:81-94.