เปรียบเทียบคุณภาพการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลละงูจ.สตูล ก่อนและระหว่างช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีการปรับรูปแบบการบริการ
ผู้วิจัยสนใจศึกษาผลกระทบดังกล่าว
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลกระทบด้านคุณภาพการรักษาและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและระหว่างช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรค COVID-19
วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบภาคตัดขวางและย้อนหลังเชิงสังเกต เปรียบเทียบคุณภาพของการรักษากับมาตราฐานตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก โดยใช้สถิติ Wilcoxon Matched Pairs signed rank test เนื่องจากข้อมูลมีการกระจายไม่ปกติ
ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมวิจัย 211 คน พบว่าระดับน้ำตาลสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HbA1c 8.05 และ 8.00% ตามลำดับ p-value 0.04) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก ไม่พบการแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับน้ำตาลเฉลี่ย (FBS 142 และ 146 mg/dL ตามลำดับ p-value 0.59) คุณภาพของการรักษาลดลงจากเดิม ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดเรื่องการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปีและการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน แตกต่างกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดที่ผ่านทุกตัวชี้วัด
สรุป : ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ต่อผู้ป่วยเบาหวานส่งผลให้คุณภาพการรักษาลดลงจากเดิม และผลลัพธ์การรักษาไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel
coronavirus in Wuhan, China. Lancet (London, England). 2020;395:497–506.
Holman N, Knighton P, Kar P, et al. Risk factors for COVID-19-related mortality in people with type 1
and type 2 diabetes in England: a population-based cohort study. Lancet DiabetesEndocrinol.2020;
(10):823-833.
World health organization Thailand. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19[Internet]. 2020[cited 20 Aug 2021]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-17-tha-sitrep-55-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=f2598181_0
Dyer O. Covid-19: Pandemic is having “severe” impact on non-communicable disease care, WHO survey finds. BMJ (Clinical research ed). 2020;369:m2210.
Khare J, Jindal S. Observational study on Effect of Lock Down due to COVID 19 on glycemic control in patients with Diabetes: Experience from Central India. Diabetes & metabolic syndrome. 2020;14:1571–4.
Biancalana E, Parolini F, Mengozzi A, Solini A. Short-term impact of COVID-19 lockdown on metabolic control of patients with well-controlled type 2 diabetes: a single-centre observational study. Acta Diabetol. 2020; 58(4):431-436.
Bonora BM, Morieri ML, Avogaro A, Fadini GP. The Toll of Lockdown Against COVID-19 on Diabetes Outpatient Care: Analysis From an Outbreak Area in Northeast Italy. Diabetes Care. 2020; 44(1):18-21.
ปฐมพร ศิระประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุลและคณะ. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่
แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ปราณี ชัยหลาก, อรุณรัตน์ สู่หนองบัว. ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563. Chaiyaphoom medical journal. 2021; 41(1):111-121.
Ting Xue , Qianwen Li ,et al. Blood glucose levels in elderly subjects with type 2 diabetes during COVID-19 outbreak : a retrospective study in single center: Fujian Medical University. 2020;41(3):121-135.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2564
[internet]. 2021[cited 26 August 2021]. Available from: https://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13914&gid=18.
Rastogi A, Hiteshi P, Bhansali A. Improved glycemic control amongst people with long-standing diabetes during COVID-19 lockdown: a prospective, observational, nested cohort study. International journal of diabetes in developing countries. 2020;13:95-103.
คลังข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล. รายงานตามตัวชี้วัด NCD ClinicPlus ปีพ.ศ.2561[internet].
[cited 1 Sep 2021]. Available from: htttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?
flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2018
Yasuhuro T, Shojiro S, Taichi W, et al. Impact of COVID-19 pandemic on glycemic control among outpatients with type 2 diabetes in Japan: A hospital-based survey from a country without lockdown. Diabetes research and clinical practice. 2021;24:948-960.
Psoma O, Papachristoforou E, Kountouri A, Balampanis K, Stergiou A, Lambadiari V, et al. Effect of COVID-19-associated lockdown on the metabolic control of patients with type2 diabetes. J Diabetes Complications 2020;34(12):107756.