คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ได้รับยาฉีดอินซูลินเทียบกับกลุ่มที่ได้ยากินสามชนิด คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตำรวจ

Main Article Content

มานิต นาควัน

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลินกับกลุ่มที่ได้รับยากิน3 ชนิด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตำรวจ


แบบวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง


วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2563 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลโรคเบาหวาน และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต Diabetes-39 (คะแนนน้อยหมายถึงคุณภาพชีวิตดี) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา unpaired t-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอินซูลินมีแนวโน้มคุณภาพชีวิตที่แย่กว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากินสามชนิดทั้งคะแนนรวมและในรายมิติ (คะแนนรวม 31.31 ± 19.33 และ 22.27 ± 13.71 ตามลำดับ p < 0.05) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมคือ วิธีบริหารยา (กลุ่มยากินสามชนิดสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า) ส่วนระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในหลายมิติย่อย และเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในมิติเพศสัมพันธ์ (Beta = -0.470, p < 0.001)


สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินมีคุณภาพชีวิตแย่กว่ากลุ่มที่ใช้ยากินสามชนิด บุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักถึงโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดแผนการรักษาที่เหมาะสมและทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World health organization. Diabetes [Internet]. 2020. [cited 2020 Jul 9]. Available from: https://www.who.int/health-topics/diabetes.

International Diabetes Federation. Diabetes in WP [Internet]. 2019. [cited 2020 Jul 9]. Available from:

https://www.idf.org/our-network/regions-mem-bers/western-pacific/diabetes-in-wp.html.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหาร ผ่านศึก; 2557.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

WHO. WHOQOL: Measuring Quality of Life [Inter- net]. WHO. World Health Organization. [cited 2020 Jul 13]. Available from: https://www.who.int/healthinfo/survey/whoqol-qualityoflife/en/.

Boyer JG, Earp JAL. The development of an instru- ment for assessing the quality of life of people with diabetes: Diabetes-39. Med Care. 1997;35:440-53.

Songraksa K, Lerkiatbundit S. Development of a disease specific quality of life instrument: Thai version of the Diabetic-39. Songkla Med J. 2009;27:35-49.

Ananchaisarp T, Pringraksa S, Suaiyala J, Thet-asen N, Promvikorn S, Angsawat S, et al. Quality of life in diabetic patients in the primary care unit. J Health Sci Med Res. 2020;38:9-16.

Chaithong K, Namjaidee S, Phimarn W. Quality of life in diabetic outpatients at Pueainoi hospital, Khon Kean. J Sci Technol MSU. 2017;36:553-60.

Machin D, Campbell M, Tan S, Tan S. Sample size tables for clinical studies. 3rd ed. Chichester: WileyBlackwell; 2009.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2540.

Dabrowski M, Filip W, Huc B. Association between insulin therapy and quality of life in diabetes. J PreClin Clin Res. 2017;11:10-4.

Abedini M, Bijari B, Miri Z, Emampour S, Abbasi A. The quality of life of the patients with diabetes type 2 using EQ-5D-5 L in Birjand. Health Qual Life Outcomes. 2020;18:18. doi: 10.1186/s12955-020-1277-8.

Harahap AW, Nasution MS. Comparison quality of life patients treated with insulin and oral hypogly- cemic drugs. Earth Environ Sci. 2018;125:1-6.

Hsu H-C, Lee Y-J, Wang R-H. Influencing pathways to quality of life and HbA1c in patients with diabetes: a longitudinal study that inform evidence-based practice. Worldviews Evid Based Nurs. 2018;15:104-12.

Al Hayek AA, Robert AA, Al Saeed A, Alzaid AA, Al Sabaan FS. Factors associated with health-related quality of life among saudi patients with type 2 dia- betes mellitus: a cross-sectional survey. Diabetes Metab J. 2014;38:220-9.

Changchuea W. Quality of life of diabetic patient in Sawaeng Ha district, Ang Thong province. Reg 4 Med J. 2013;15:97-104.

Visuthsiri W. Factors relating to the quality of life for: type ii diabetes mellitus patients at the 360 Degree Clinic, Vachira Phuket Hospital. Reg 11 Med J. 2015;29:33-42.

เสกสรร หีบแก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

Bąk E, Nowak - Kapusta Z, Dobrzyn-Matusiak D, Marcisz-Dyla E, Marcisz C, Krzemińska S. An assess- ment of diabetes-dependent quality of life (AD- DQoL) in women and men in Poland with type 1 and type 2 diabetes. Ann Agric Environ Med. 2019 Sep 19;26:429-38.

โสภิต อุบล. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา. วารสารสุขภาพประชาชนภาคใต้. 2557;28:18-24.

Srichaijaroonpong S, et al. Factors relating to the quality of life of the diabetic patients at Ban Chi- ang Kruea Pho Chai health promoting hospital, Chi- ang Kruea subdistrict, Muang district, Sakon Nakorn province. J Off DPC 7 Khon Kaen. 2016;23:23-33.

Safavi M, Samadi N, Mahmoodi M. Effect of quality of life improvement on type 2 diabetes patients’ self-esteem. Saudi Med J. 2011;32:797-801