อัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดเกรด 1 จากอุบัติเหตุ หลังได้รับการดูแลตามแนวปฏบัติการดูแลบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ โรงพยาบาลบางเคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อัจฉราณี สังสะนะ
อนิสา อรัญคีรี
ภณิกาญจน์ พุทธรักษา
เบญจา นิ่มนวล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


        ปัญหาการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และนำไปสู่ปัญหาการดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ บาดแผลสดจากอุบัติเหตุเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการดูแลบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ แผลเกรด 1 กึ่งสะอาดกึ่งปนเปื้อน ที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ของโรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้า (Prospective observational study) ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2563  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์จนกว่าจะครบ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแนวปฏิบัติการดูแลบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ แบบเก็บข้อมูล Case Record Form และใบนัดพร้อมคำแนะนำ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ  1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย สัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัย ให้การรักษาบาดแผลตามแนวปฏิบัติ นัดหมายทำแผลที่ โรงพยาบาลบางคล้า จนแผลหาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ  


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 299 คน ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติ  พบว่า อัตราการติดเชื้อของบาดแผลร้อยละ 0  ซึ่งมาจากการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติที่วางไว้ มีการดูแลบาดแผลก่อนทำหัตถการเป็นอย่างดี มีการให้คำแนะนำการดูแลบาดแผลที่บ้าน นัดหมายทำแผลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินและติดตามการติดเชื้อของบาดแผล จนแผลหายได้ทุกราย


สรุป : ผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดเกรด 1 จากอุบัติเหตุ ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติ  ไม่พบการติดเชื้อที่บาดแผล  สามารถทำให้บุคลากรมั่นใจในการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

7) เอกสารอ้างอิง (References)
1. World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core coponents. [Internet]
[updated Sep 2002; cited 2018 Oct 2]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/
10665/67438/WHO_EDM_2002.3.pdf?sequence=1&isAllowed=y
2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service plan: Rational Drug Use). [อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2561]. จาก http://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/ files/Manual_Service%20Plan%20RDU_Sept2016.pdf.
3. อธิรัฐ บุญญาศิริและคณะ. Antibiotics Smart Use ในโรงเรียนแพทย์. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ย.
2561]. จาก http://www.hsri_forum_v2_n4_jury2013.pdf-Adobe Acrobat Reader DC (32-bit).
4. QSMI Guideline for Pos-Exposure Rabies Treatment;c2016. [Internet]. [cited 2017 Nov 1]. Available from: http://saovabha.redcross.or.th/download/2559/ thailand% 20Rabies-Free/QsmiGuidline2016. pdf.
5. สถานเสาวภาสภากาชาดไทย. แนวทางการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาน
เสาวภา สภากาชาดไทย. 2553. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2561]. จาก http://www.saovabha.com/download/ vichargarn_guideline.pdf.
6. Sirijatuphat R., Choochan T., Siritongtaworn P., Sripojtham V., and Thamlikitkul V. Implementation of Antibiotic Use Guidelines for Fresh Traumatic Wound at Siriraj Hospital. J. Med Assoc Thai. [Internet]. 2015. [cited 2018 Oct 2]. Mar;98(3):245-52. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/ pubmed/25920294.
7. วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโรยามาเนและเครจซี–มอร์แกน Determinaing an Appropriate Sample Size for Social Science Research: The Myth of using Taro Yamane and Krejcie & Morgan Method. [อินเตอร์เน็ต]. (มปป). [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2561]. จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/download/236119/162075/
8. Guo,S., and DiPietro, L.A. Factors Affecting Wound Healing. J Dent Res. [Internet]. 2010. [cited 2020 Dec 2]. Mar; 89(3): 219–229. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC 2903966/
9. Szabo G, Mandrekar P. A recent perspective on alcohol, immunity, and host defense. Alcohol [Internet]. 2009. [cited 2020 Dec 2].Clin Exp Res 33:220-232. Available from: https://pubmed.ncbi. nlm.nih.gov/19053973/