ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อเกี่ยวกับยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา

Main Article Content

เบญจวรรณ บุญเสรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล:โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี34จากกรอบแนวคิดของลีเวนทาล35เชื่อว่าบุคคลจะใช้พื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับโรคและการรักษาที่ได้รับเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพของตน จากข้อมูลการเข้ารับบริการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาประจำปี2562 พบประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพาราถึงร้อยละ74 เกษตรกรสวนยางพารามีช่วงเวลาการทำงานที่แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ มีการรับประทานยาไม่เป็นเวลา มีการปรับเปลี่ยนมื้อยาตามมื้ออาหาร จากปัญหาดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดีได้ และการศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีผู้ทำการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว การวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อเกี่ยวกับยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา


วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง


วัสดุและวิธีการ:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกตามความสะดวก เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยอย่างย่อ แบบสอบถามวัดความเชื่อเกี่ยวกับยา แบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.780, 0.932, 0.798 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (multiple logistic regression)  ระหว่างปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อเกี่ยวกับยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยา


ผลการศึกษา:จากผู้เข้าร่วมวิจัย 190 คน พบว่ามีผู้ที่มีความร่วมมือในการรับประทานยาที่ดีร้อยละ 62.63 ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีการรับรู้บความเจ็บป่วยอยู่ในระดับน้อยร้อยละ 51.58 และมีความเชื่อเกี่ยวกับยาอยู่ในระดับมากร้อยละ 50.53ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพาราที่มีคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาที่ไม่ดีเป็นผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี (มีค่า HbA1C≥7) ถึงร้อยละ95.77 พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่  P value < 0.05 ได้แก่ปัจจัยด้านข้อมูลประชากร:อายุและศาสนา (P value = 0.047, 0.004 ตามลำดับ) และปัจจัยด้านข้อมูลด้านคลินิก:ปัจจัยระดับน้ำตาลลสะสมในเลือด (HbA1C) (P value = 0.000) ปัจจัยด้านการรับรู้ความเจ็บป่วย พบว่ากลุ่มที่มีระดับการรับรู้ความเจ็บป่วยสูง มีความร่วมมือในการรับประทานยาที่ดีเป็น 0.8 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับการรับรู้ความเจ็บป่วยต่ำ โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(95% CI 0.42-1.49, P value 0.481) ปัจจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับยาพบว่ากลุ่มที่มีระดับความเชื่อเกี่ยวกับยาสูง มีความร่วมมือในการรับประทานยาที่ดีเป็น 0.63 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับความเชื่อเกี่ยวกับยาต่ำ โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (95% CI 0.33-1.19, P value 0.153) เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการหาความร่วมมือในการรับประทานยาด้วยร้อยละความร่วมมือในการรับประทานยาจากการนับเม็ดยาที่เหลือ(pill counts) เปรียบเทียบกับคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาจากแบบสอบถาม MASTพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (r=0.28, p-value 0.0096) และพบว่าเมื่อคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาจากแบบสอบถาม MAST มากขึ้นจะสัมพันธ์กับระดับ HbA1ที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ( r= -0.32, p-value 0.0000)


สรุป  :  การรับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อเกี่ยวกับยาเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประเมินความร่วมมือในการรับประทานยา แม้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา แต่ผู้ที่มีคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาจากแบบสอบถาม MAST ที่มากขึ้นเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 9th edition[online]. 2019[cited 2020 Febury,14].Available from:https://w.idf.org/aboutdiabetes/what-is-diabetes/facts-figures.htmlww
2. Diabetes Association of Thailand.The disease situation in the Western Pacific[online]. 2017[cited 2020 Febury,14].Available from:https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/the-chart/the-chart-1/549-2018-02-08-14-52-46
3. วิชัย เอกพลากร, วรรณี นิธิยานันท์, บัณฑิต ศรไพศาล, ปานเทพ คณานุรักษ์, สำนักโรคไม่ติอต่อ กรมควบคุมโรค.การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 (Thai National Health Examination Survey, NHES V) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4604?locale-attribute=th
4. Rangsin R, MedResNet. An assessment on quality of care among patients diagnosed with type 2 diabetes and hypertension visiting hospitals of Ministry of Public Health and Bangkok Metropolitan Administration in Thailand. Bangkok, Thailand: National Health Security Office, 2014.
5. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์์และสุขภาพ (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: กระทรวงสาธารณสุุข [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
6. Division of Non communicable disease. ReportAnnualDNCD59[online].2016[cited 2020 Febury,14]. Available from: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5_59_%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD.pdf
7. Division of Non communicable disease. ReportAnnualDNCD62[online]. 2019[cited 2020 Febury,14]. Available from: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/ReportAnnualDNCD62.pdf
8. Conner M, Mcmillan B. The Health Belief Model. In Christensen AJ, Martin R, Morrison Smyth J, editors.(2004) Encyclopedia of Health Psychology. Kluwer Academic/Plenum Publishers. 126-128
9. ฐานข้อมูลโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2562
10. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560[อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/attachments/article/443/guideline-diabetes-care-2017.pdf
11. อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, ปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น[อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;23(1):85-95. [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc7.ddc.moph.go.th/journal/files/08%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2.pdf
12. Yanjun Guo, Yuewei Liu, Xiji Huang, Yi Rong, Meian He, Youjie Wang, et al. The Effects of Shift Work on Sleeping Quality,Hypertension and Diabetes in Retired Workers. PLOS ONE 2013;8(8):1-6. [cited 2020 Febury,14].Available from: https://journals.plos.org/plosone/article/file?id=10.1371/journal.pone.0071107&type=printable
13. Roglic G. WHO Global report on diabetes: a summary[online]. International Journal of Non-Communicable Disease. 2016.[cited 2020 Febury,14];1(1):3-8. Available from: https://www.ijncd.org/article.asp?issn=2468-8827;year=2016;volume=1;issue=1;spage=3;epage=8;aulast=Roglic
14. วิภาพร สิทธิสาตร์, ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี, อุษณี บุญเฟื่อง, ขนิษฐา ภัทรเศรษฐเศรณี. วิถีชีวิต วิถีสุขภาพ และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามบริบทของชาวสวนยางพารา[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2563] 121-30. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/download/112271/87497/
15. ประภัสสร ดลวาส, สมจิต แดนสีแก้ว. การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2563];37(3):183-91. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/219753/152054
16. Pattaraporn S. Working Environment and health status of the rubber farmer in Bantat subdistrict, Maung district, Udon Thanni Province [Master thesis]. Khonkaen: Khonkaen University : 2009. (in Thai).
17. กุสุมา กังหลี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า[อินเทอร์เน็ต].วารสารพยาบาลทหารบก.; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2563];15(3):256-68. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30627
18. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2017. Diabetes Care 2017; 40 (Suppl 1): S25-S32.
19. Clinical Guidelines Task Force. Global guideline for type 2 diabetes[online]. International Diabetes Federation 2012.[cited 2020 Febury,14]. Available from: https://www.iapb.org/wp-content/uploads/Global-Guideline-for-Type-2-Diabetes-IDF-2012.
20. Sinclair A, Dunning T, Coagiuri S. IDF global guideline for managing older people with type 2 diabetes 2013[online]. International Diabetes Federation 2013. .[cited 2020 Febury,14].Available from: https://www.idf.org/e-library/guidelines/78-global-guideline-for-managing-older-people-with-type-2-diabetes.html
21. Morley JE, Sinclair A. Individualizing treatment for older people with diabetes. Lancet 2013; 382: 378-80.
22. Greenfield S, Billimek J, Pellegrini F, Franciosi M, DeBerardis G, Nicolucci A, et al. Comorbidity affects the relationship between glycemic control and cardiovascular outcomes in diabetes. A cohort study. Ann Intern Med 2009; 151: 854-60.
23. Skyler JS, Bergenstal R, Bonow RO, Buse J, Deedwania P, Gale EAM, et al. Intensive Glycemic Control and the Prevention of Cardiovascular Events: Implications of the ACCORD, ADVANCE, and VA Diabetes Trials: A position statement of the American Diabetes Association and a scientific statement of the American College of Cardiology Foundation and the American Heart Association. Diabetes Care 2009; 32: 187–92.
24. Meier M, Hummel M. Cardiovascular disease and intensive glucose control in type 2 diabetes mellitus: moving practice toward evidence-based strategies. Vasc Health Risk Management 2009; 5: 859–71.
25. Currie CJ, Peters JR, Tynan A, Evans M, Heine RJ, Bracco OL, et al. Survival as a function of HbA1c in people with type 2 diabetes: a retrospective cohort study. Lancet 2010; 375: 481-9.
26. ประภัสสร ดลวาสและคณะ. การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงที่ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(3):183-191.
27. อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์, สุภมัย สุนทรพันธ์,สุมาลี วังธนากร. ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นกะและปัจจัยอื่น ๆ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(3):165-76.
28. Yong Gan, Chen Yang, Xinyue Tong, Huilian Sun, Yingjie Cong, Xiaoxu Yin, et al. Shift work and diabetes mellitus: a meta-analysis of observational studies. Occup Environ Med 2015 ;72(1):72-8.
29. สิริมาส วงศ์ใหญ่, อมร ไกรดิษฐ์, จีระภา นะแส. โรคเบาหวานกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. Journal of Boromarajonani College of Nursing 2017;33(3):158-65.
30. Bosworth HB, Granger BB, Mendys P, Brindis R, Burkholder R, Czajkowski SM, et al. Medication
adherence: a call for action. Am Heart J 2011;162:412-24.
31. Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Engl J Med 2005;353:487-97.
32. Simpson SH, Lin M, Eurich DT. Medicationadherence affects risk of new diabetes complications: a cohort study. Pub Med [Internet]. 2016[cited 2020 Jun 15];50:741-6. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27307411/
33. กิ่งกาญจน์ สิทธิขันแก้ว, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลินร่วมกับยารับประทาน. วารสารพยาบาลตำรวจ Vol. 6 No. 1 [อินเตอร์เน็ต],2557[เข้าถึงเมื่อ 2563 ม.ค. 15];6:102-12. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/22034
34. สิริมาส วงศ์ใหญ่, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พรรณวดี พุธวัฒนะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2557;30: 80-90.
35. Howard Leventhal. The Common-Sense Model of Self-Regulation of Health and Illness: The Self-Regulation of Health and Illness Behaviour. ResearchGate [Internet].2003 [cited 2020 Jun 15]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/284686251_The_Common-Sense_Model_of_Self-Regulation_of_Health_and_Illness_The_Self-Regulation_of_Health_and_Illness_Behaviour
36. อมรพรรณ ศุภจำรูญ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ.ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย:การทดสอบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2018;10(2):607-19.
37. .Jongwilaikasem K. Development of a measure for Medication Adherence Scale in Thais [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2018.
38. N Aujla, M Walker, N Sprigg, K Abrams, A Massey, K Vedhara. Can illness beliefs, from the common-sense model, prospectively predict adherence to self-management behaviours? A systematic review and meta-analysis. Pub Med 2016;31(8):931-58.
39. Lucy Barnes, Rona Moss-Morris, Mele Kaufusi. Illness beliefs and adherence in diabetes mellitus: a comparison between Tongan and European patients, The New Zealand medical journal 2004;117(1188) :U743.
40. Areesa Manodpitipong, Sunee Saetung, Hataikarn Nimitphong, Nantaporn Siwasaranond, Thanawat Wongphan, Chotima Sornsiriwong, et al. Sleep and Glycemic Control in Shift Workers with Type 2 Diabetes. J Sleep Res. 2017 Dec;26(6):764-772.
41. Myriam Jaam, Mohamed Izham, Mohamed Ibrahim, Nadir Kheir, Ahmed Awaisu. Factors associated with medication adherence among patients with diabetes in the Middle East and North Africa region: A systematic mixed studies review. Elsevier B.V. 2017;119:1-15.
42. Waleed M Sweileh, Sa’ed H Zyoud, Rawan J Abu Nab’a, Mohammed I Deleq, Mohammed I Enaia, Sana’a M Nassar, et al. Influence of patients’ disease knowledge and beliefs about medicines on medication adherence: findings from a cross-sectional survey among patients with type 2 diabetes mellitus in Palestine. BMC Public Health 2014;14:94.
43. Olaolorunpo Olorunfemi, Foluso Ojewole. Medication belief as correlate of medication adherence among patients with diabetes in Edo State, Nigeria. Nurs Open. 2019 Jan; 6(1): 197–202.
44. Mohsen Alyami, Anna Serlachius, Ibrahim Mokhtar, Elizabeth Broadbent. Illness Perceptions, HbA1c, And Adherence In Type 2 Diabetes In Saudi Arabia. Patient Prefer Adherence. 2019; 13: 1839–50.
45. Pedro de Pablos-Velasco, Klaus G Parhofer, Clare Bradley, Eveline Eschwège, Linda Gönder-Frederick, Pierre Maheux, et al. Current Level of Glycaemic Control andIts Associated Factors in Patients With Type 2 Diabetes Across Europe. Clin Endocrinol 2014;80(1): 47-56.
46. Sanal, T.S., Nair, N.S., Adhikari, P. Factors associated with poor control of type 2 diabetes mellitus: A systematic review and Meta-analysis. Journal of Diabetology 2011;2(3):1-10.
47. ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ, สมบัติ เหลืองโสมนภา, ยุพาธร เสือเฒ่า. อิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการกินยา ต่อความร่วมมือในการกินยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง. วารสารศูนย์ การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิกโรงพยาบาล พระปกเกล้า 2556; 30: 46-57.
48. Yuvaraj K, Gokul S, Sivaranjini K, Manikandanesan S, Murali S, Surendran G, et al. Prevalence of medication adherence and its associated factors among patients with noncommunicable disease in rural Puducherry, South India – A facility-based cross-sectional study. J Family Med Prim Care 2019;8:701-5.
49. ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(3):515-522.
50. Polinski J, Kesselheim A, Frolkis J, Wescott P, Allen-Coleman C, Fischer M. A matter of trust: patient barriers to primary medication adherence. Health Educ Res.2014;29(5):755-63.
51. Harrison TN, Derose SF, Cheetham TC, et al. Primary nonadherence to statin therapy:patients’ perceptions. Am J Manag Care. 2013;19(4):133-39.
52. Cia Sin Lee, Jane Hwee Mian Tan, Usha Sankari, Yi Ling Eileen Koh, Ngiap Chuan Tan. Assessing oral medication adherence among patients with type 2 diabetes mellitus treated with polytherapy in a developed Asian community: a cross-sectional study. BMJ open 2017;7(9):e016317.
53. Eileen R. Chasens, DSN, RN, Mary Korytkowski, MD, Susan M. Sereika, PhD, and Lora E. Burke, PhD, MPH, FAHA, FAAN. Effect of Poor Sleep Quality and Excessive Daytime Sleepiness on Factors Associated with Diabetes Self-Management. Diabetes Educ. 2013 ; 39(1): 74–82.
54. พิมพา เทพวัลย์, ดวงรัตน์วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ฉัตรกนก ทุมวิภาต. การรับรู้ความเจ็บป่วย การตอบสนองทางอารมณ์ และประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในการทำนายการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2554;29(2):111-19.