การศึกษา ความคิดเห็นต่อการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รีบยาเคมีบำบัดและกลุ่มแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และกลุ่มแพทย์
แบบวิจัย: งานวิจัยเชิงเปรียบเทียบ การศึกษาแบบภาคตัดขวาง
วัสดุ และวิธีการ: สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ความรู้เกี่ยวกับสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ และการนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง และทัศนคติที่มีต่อการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 207 คน และกลุ่มแพทย์ 106 คน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเห็นด้วยกับการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง มากกว่ากลุ่มแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ผู้ป่วย 5.96 (±1.36) แพทย์ 3.98 (±1.70) จากคะแนน 1-7 คะแนน; p<0.001)
สรุป: กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดนั้นส่วนใหญ่ต้องการให้มีการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งสวนทางกับความคิดเห็นของกลุ่มแพทย์ โดยมีรากฐานมาจากทัศนคติที่ต่างกัน แต่การที่ระดับความรู้ของผู้ป่วยเหล่านี้ในเรื่องสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ และการนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งยังค่อนข้างน้อย ท่ามกลางกระแสนิยมของใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในปัจจุบัน การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องสำคัญ และแพทย์เองควรเข้าใจถึงความต้องการเหล่านี้ว่ามีเหตุปัจจัยจากทัศนคติของผู้ป่วยมากกว่าความรู้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น