ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในประเทศไทย

Main Article Content

ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล :  การติดเชื้อเอชไอวี ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในด้านสาธารณสุขประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ประชากรกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นกลุ่มที่มีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มากที่สุดราวร้อยละ 53 โดยสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก  ปัจจัยทางด้านสังคมและปัจจัยด้านการมีพฤติกรรมเสี่ยง ส่งผลให้แนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุที่น้อยลง ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีใน อย่างไรก็ตามการใช้ยาเพร็พเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการป้องกันโรคติดเชื้อเอชไอวี


วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ยาเพร็พในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอายุ 19-49 ปี


วิธีการศึกษา :  เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytical cross sectional study) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha) = 0.87 เก็บข้อมูลแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามด้านพฤติกรรมเสี่ยง ด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี ความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของยาเพร็พ และด้านปัจจัยแวดล้อม   วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงวิเคราะห์แบบถดถอย (Binary logistic regression)  ระหว่างปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มที่ตัดสินใจใช้ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ (ยาเพร็พ,PrEP)


ผลการศึกษา :  จากผู้ตอบแบบสอบถาม 171 คน มีผู้ตัดสินใจใช้ยาเพร็พร้อยละ 31.6 (54) ตัดสินใจไม่ใช้ยาเพร็พ ร้อยละ 68.4 (117)


ความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของยาเพร็พ (Perceived benefits of PrEP) มีผลต่อการตัดสินใจใช้ยาเพร็พ สำหรับกลุ่มที่ตอบ “เห็นด้วย”  (OR = 10.24, 95%CI = 1.78-58.75 p<0.05) และกลุ่มที่ตอบ “เห็นด้วยอย่างยิ่ง”  (OR= 6.70, 95%CI = 1.24-36.13 p<0.05) 


ส่วน ประวัติการไม่มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Denied history of STDs symptoms) มีผลต่อการตัดสินใจไม่ใช้ยาเพร็พ (OR= 0.27, 95% CI = 0.09-0.77 p=0.01)


ประมาณร้อยละ 14.6 (25)  รายงานว่าเคยมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา


ข้อมูลด้านพฤติกรรมเสี่ยง ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 90 (154) เคยมีพฤติกรรมเสี่ยงสูง เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก การมีเพศสัมพันธ์ขณะมึนเมาขาดสติ เป็นต้น


ร้อยละ39.2 (67) มีเพื่อน คนใกล้ชิดหรือคนรู้จักเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี


สรุป :  ความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของยาเพร็พ และ ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ยาเพร็พในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ดังนั้นควรมีการรณรงค์ให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความตระหนักถึงประโยชน์ของยาเพร็พ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประวัติการมีอาการของโรคิดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงมีความสำคัญเพื่อให้มีการตัดสินใจใช้ยาเพร็พในการป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชไอวี

Article Details

How to Cite
1.
ลาวัลย์ตระกูล ป. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในประเทศไทย. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 19 กันยายน 2020 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];3(1):46-5. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/231397
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. UNAIDS. Global HIV & AIDS statistics -- 2018 fact sheet. Available at : http://www.unaids.org/en/resources/fact-sheet/. Accessed Jan 13, 2019
2. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคิดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการจัดบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี ในประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2561. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2560). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด:
4. Suraratdecha C, Stuart RM, Manopaiboon C, Green D, Lertpiriyasuwat C, Wilson DP, et al. Cost and cost-effectiveness analysis of pre-exposure prophylaxis among men who have sex with men in two hospitals in Thailand. Journal of the International AIDS Society. 2018.
5. AVAC,A snapshot of PrEP scale-up, registration and resources for Thailand. Available at : https://www.prepwatch.org/country/thailand/. Accessed Jan 13, 2019
6. CDC, HIV in the United States. Available at : https://www.cdc.gov/hiv/statistics/overview/ataglance.html/. Accessed Jan 13,2019
7. Wheelock A, Eisingerich AB, Ananworanich J, Gomez GB, Hallett TB, Dybul MR, et al. Are Thai MSM Willing to Take PrEP for HIV Prevention? An Analysis of Attitudes, Preferences and Acceptance. Vermund SH, editor. PLoS ONE. 2013.
8. Plotzker R, Seekaew P, Jantarapakde J, Pengnonyang S, Trachunthong D, Linjongrat D, et al. Importance of Risk Perception: Predictors of PrEP Acceptance Among Thai MSM and TG Women at a Community-Based Health Service. JAIDS Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes. 2017;76:473–81.
9. Terry-Smith JB. Factors Influencing Use of Pre-Exposure Prophylaxis Among Men Who Have Sex With Men. :90.
10. Arnold T, Brinkley-Rubinstein L, Chan PA, Perez-Brumer A, Bologna ES, Beauchamps L, et al. Social, structural, behavioral and clinical factors influencing retention in Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP) care in Mississippi. Caylà JA, editor. PLOS ONE. 2017.
11. Chard AN, Metheny N, Stephenson R. Perceptions of HIV Seriousness, Risk, and Threat Among Online Samples of HIV-Negative Men Who Have Sex With Men in Seven Countries. JMIR Public Health and Surveillance. 2017.
12. Conner M, Mcmillan B. The Health Belief Model. In Christensen AJ, Martin R, Morrison Smyth J, editors.(2004) Encyclopedia of Health Psychology. Kluwer Academic/Plenum Publishers. 126-128
13. Long, J.S. 1997. Regression Models for Categorical and Limited. Dependent Variables. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications, Inc. Page 53-54.
14. Hair JF, Anderson RE, Tatham RL, Black WC. Multivariate data anclysis. 5th ed. New Jersy: Prentice Hall; 1998.
15. จรณิต แก้วกังวาล, คู่มือนักวิจัยมือใหม่ การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาและชีวสถิติในการวิจัยชีวเวชศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: หจก. จี.เอส.เอ็ม. เทรดดิ้ง จำกัด.;2562