ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล่าช้าด้านระบบบริการในการวินิจฉัยวัณโรคปอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการในการวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
วิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางแบบย้อนหลัง (retrospective cross-sectional study) ของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 เมษายน 2562 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ทำการวิเคราะห์ตัวแปรเดียว (bivariate analysis) โดยใช้สถิติ simple logistic regression นำเสนอด้วย P-value และหาขนาดความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัย นําเสนอด้วยค่า OR อย่างหยาบคู่กับช่วงความเชื่อมั่น 95% และนำปัจจัยที่มีค่า P-value < 0.05 มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์หลายตัวแปรด้วยสถิติ multiple logistic regression นำเสนอด้วย adjusted OR คู่กับช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา จากผู้ป่วยวัณโรคปอดทั้งสิ้น 293 คน เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะไม่พบเชื้อ 196 คน (ร้อยละ 66.89) พบว่า ความล่าช้าของการวินิจฉัยวัณโรคปอดที่เกิดจากระบบบริการ ที่คลินิกวัณโรคปอดโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ 37.54 (95%CI= 32-43.4) ผลจากการวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่าปัจจัยที่ยังคงมีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการวินิจฉัยวัณโรคปอดคือ ผลการวินิจฉัยโรคครั้งแรกไม่เกี่ยวข้องกับวัณโรคปอด (adjusted OR 8.978 ,95%CI= 2.49-32.39) จำนวนครั้งที่มาเข้ารับการบริการมากกว่าเท่ากับ 3 ครั้ง (adjusted OR 10.395 ,95%CI= 3.75-28.81) จำนวนภาพรังสีทรวงอกก่อนการวินิจฉัยวัณโรคปอดมากกว่าเท่ากับ 3 ครั้ง (adjusted OR 3.578 ,95%CI= 1.71-7.45) และปัจจัยที่ลดความล่าช้าในการวินิจฉัยวัณโรคปอดคือ ผู้ที่นัดติดตามผลการรักษาที่คลินิกวัณโรค (adjusted OR 0.383, 95%CI= 0.17-0.81)
สรุปและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการในการวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคปอดเกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้ให้บริการคนแรกที่ไม่สามารถวินิจฉัยวัณโรคปอดได้ จึงควรพัฒนาระบบที่เพิ่มความถูกต้องรวดเร็วในการวินิจฉัยทั้งการเพิ่มคุณภาพการตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ และพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยวัณโรคปอดที่จำเพาะเหมาะสมตามบริบทของโรงพยาบาล
คําสําคัญ : วัณโรคปอด, ความล่าช้าด้านระบบบริการ, การวินิจฉัย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
1. แบบพัฒนาระบบบริการการควบคุมวัณโรค จังหวัดเชียงราย เขตสุขภาพที่ 1 ตรวจราชการระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2562: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค, 2562.หน้า 503-511
2. สำนักวัณโรคกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคพ.ศ.2561.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561
3. สำนักวัณโรคกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค พ.ศ.2560.กรุงเทพฯ หน้า 21-23
4. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561 (National Tuberculosis control Programme Guidelines Thailand 2018). กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค, 2561.120 หน้า
5. สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (TB case manager programme). จาก http://tbcmthailand.net
6. มาลี โรจน์พิบูลสถิต. (2556). ปัจจัยด้านระบบบริการและผู้ป่วยต่อความล่าช้าในการวินิจฉัยวัณโรคปอดในภาคใต้หลังการปฎิรูปการสาธารณสุขในจังหวัดสงขลา. INT J TUBERC LUNG DIS 10(4):422-428
7. จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน. (2543).พฤติกรรมการเข้ารับบริการรักษาวัณโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIVs ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. INT J TUBERC LUNG DIS 5(11):1013-1020
8. ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการรักษาวัณโรคใน 10 โรงพยาบาลตติยภูมิของประเทศไทย. SOUTHEAST ASIAN J TROP MED PUBLIC HEALTH Vol 46 No.4 July 2015
9. กรรณิกา ทานะขันธ์ และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ.(2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น Vol.6 No.3 July-September, 2013 ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2556
10. นราวุฒิคําหอม และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี, 6(3), 65-75.
11. รณยศ และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วยในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธรณสุขศาสตร์ วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร
มหาวิทยาลัยขอนแก่น Vol.6 No.3 July-September, 2013 ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2556
12. World health organization: Global tuberculosis report, WHO report. Geneva 2018.
13. Diagnosis and treatment delay in tuberculosis, An in-depth analysis of the health-seeking behavior of patients and health system response in seven countries of the Eastern Mediterranean Region: WHO 2006
14. Chandrashekhar T Sreeramareddy, Zhi Zhen Qin, Srinath Satyanarayana, Ramnath Subbaraman, and Madhukar Pai. Delays in diagnosis and treatment of pulmonary tuberculosis in India: a systematic review : Int J Tuberc Lung Dis. 2014 Mar; 18(3): 255–266.
16. Fentabil Getnet, Meaza Demissie, Alemayehu Worku. Determinants of Patient Delay in Diagnosis of Pulmonary Tuberculosis in Somali Pastoralist Setting of Ethiopia: A Matched Case-Control Study 2018 :
15. Long NH, Johansson E, Lönnroth K, Eriksson B, Winkvist A, Diwan VK. Longer delays in tuberculosis diagnosis among women in Vietnam. Int Tuberc Lung Dis. 1999;3:388–393.
16. Solomon Yimer, Gunnar Bjune, Getu Alene. Diagnostic and treatment delay among pulmonary tuberculosis patients in Ethiopia: a cross sectional study 2003: BMC Infect Dis. 2005; 5: 112.
17. Betânia M. F. Nogueira, Factors associated with tuberculosis treatment delay in patients co-infected with HIV in a high prevalence area in Rio de Janeiro, Brazil the TB/HIV in Rio (THRio) Cohort. PLoS One. 2018
18. Improving the diagnosis and treatment of smear-negative pulmonary and extrapulmonary tuberculosis among adults and adolescents Recommendations for HIV-prevalent and resource-constrained settings, WHO 2006