การประยุกต์ใช้โซลเวอร์ในไมโครซอฟท์เอ็กเซลเพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางงาน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สริญญา ศาลางาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.53848/jlscc.v10i1.263800

คำสำคัญ:

ปัญหาการจัดตารางงาน, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, เครื่องมือโซลเวอร์ในไมโครซอฟท์เอ็กเซล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้โซลเวอร์ (Solver) ในไมโครซอฟท์เอ็กเซล (Microsoft Excel)  ในการแก้ปัญหาการจัดตารางงานของพยาบาลแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลกรณีศึกษา ซึ่งปัญหาการจัดตารางงานเป็นปัญหาที่หาคําตอบได้ยากเนื่องจากมีเงื่อนไขและข้อจํากัดมากที่ต้องพิจารณาควบคู่กับการหาคำตอบของปัญหาการจัดตารางงาน ใช้รูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยทำการศึกษาปัญหาการจัดตารางงานของพยาบาลในแผนกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งเดิมจะอาศัยเพียงประสบการณ์และความชำนาญของหัวหน้าพยาบาลเท่านั้น ทำให้เกิดความผิดพลาดและใช้เวลาในการจัดตารางงานที่มากเกินความจําเป็น การวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการออกแบบตัวแบบทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้เครื่องมือ Solver เพื่อประมวลผลหาคำตอบปัญหาการจัดตารางงาน ผลการวิจัยพบว่า ในแผนกมีหัวหน้าพยาบาล 3 คนและพยาบาล 6 คน โดยทุกสัปดาห์หัวหน้าพยาบาลจะทําการจัดตารางปฏิบัติงาน และก่อนการจัดตารางงานหัวหน้าพยาบาลจะทําการสํารวจช่วงเวลาที่พยาบาลแต่ละคนสามารถลงปฏิบัติงานได้ ในหนึ่งวันจะมีช่วงเวลาปฏิบัติงาน 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และกลางคืน ความต้องการจำนวนพยาบาลแต่ละช่วงจะแตกต่างกันไป โดยการจัดตารางงานจะต้องพิจารณาทั้ง 5 เงื่อนไขของแผนกดังกล่าว เมื่อนำเงื่อนไขและข้อจำกัดดังกล่าวมาออกแบบทางคณิตศาสตร์ แล้วทำการประมวลผลด้วย Solver ซึ่งใช้เวลาในการหาคำตอบเพียง 10 นาที จากเดิม 3 ชั่วโมง และคำตอบที่ได้เป็นคำตอบที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพ ตรงตามเงื่อนไขของการจัดตารางงานทุกเงื่อนไข (ร้อยละ 100)

References

ธันยพร อุดม, ภูพงษ์ พงษ์เจริญ และขวัญนิธิ คำเมือง. (2559). การแก้ปัญหาการวางแผนและจัดตารางการผลิตขั้นสูง ที่พิจารณาการบำรุงรักษาเชิงป้องกันแบบมีกรอบเวลา โดยตัวแบบกำหนดการจำนวนเต็มแบบผสม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 4(1), 1-15.

ปัทมา อยู่เย็น และลัดดา ตันวาณิชกุล. (2557). การจัดตารางเวลาในการเดินรถขนส่งมวลชน ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้โปรแกรมเอกเซลโซลเวอร์. วิศวสารลาดกระบัง, 30(2), 79-84.

พิศาล ศรีนวล. (2559). การใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์สําหรับแก้ปัญหาจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดเวลาในการวางแผนการผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหการ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิจิตรา กิจชัยนุกูล และวิชัย รุ่งเรืองอนันต์. (2556). อัลกอริธึมเชิงพันธุกรรมสำหรับแบบจำลองการจัดตารางการผลิตแบบตามสั่งในโรงงานตู้ปาเป้าอิเล็คทรอนิกส์. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 1(1), 25-40.

สุปรีชญา บุญมาก และมาโนช โลหเตปานนท์. (2559). การพัฒนาการจัดตารางเวลาสําหรับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นของสายการบิน. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ประจำปี 2559, วันที่ 30 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ, 55-62.

Pukin, A. (2014). Solving Sequence of Job Scheduling Problem by Genetic Algorithm with Local Search. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 7(2), 111-126.

Pusapakom, P. (2013). Facilitator Scheduling for Resort Staff. BU academic review, 12(2), 17-28.

Sala-ngam, S. (2022). An Application of Solver in Microsoft Excel for Solving Travelling Salesman Probelm: A Case Study of Logistics Company. The Proceeding of the 7th Rajamangala Manufacturing & Management Technology Conference (RMTC2022), 6-8 July 2022 at Nakorn Rachasima, 820-825.

Um-in, N. (2017). Agent Scheduling Of Call Center Using Decomposition Technique. Independent Study of the Degree of Master of Engineering Program in Industrial Engineering, Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29