วัฒนธรรมการเมือง ระบบอุปถัมภ์ กับเครือข่ายความสัมพันธ์ ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมการเมืองระบบอุปถัมภ์ในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 3) นำเสนอรูปแบบวัฒนธรรมการเมืองระบบอุปถัมภ์กับเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย
เชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน รวมจำนวน 18 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมการเมืองระบบอุปถัมภ์ในจังหวัดนครราชสีมา ระบบอุปถัมภ์จากความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เข้าไปสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นนั้น ด้วยวิธีการเข้าไปช่วยเหลือเข้าไปกระชับความสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์อย่างแนบแน่นกับผู้นำ เพื่อให้การช่วยเหลือเสียสละ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีวิสัยทัศน์ สนับสนุนกิจกรรมและงานบุญต่าง ๆ ในพื้นที่ 2) เครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายความสัมพันธ์ของพรรคพวกเพื่อนฝูง ความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลักษณะของการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือระหว่างกัน ช่วยเหลือสนับสนุนด้วยความบริสุทธิ์ใจ เมื่อมีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น เครือญาติ พรรคพวกเพื่อนฝูง ก็จะช่วยเหลือสนับสนุนกันอย่างเหนียวแน่น
3) รูปแบบวัฒนธรรมการเมืองระบบอุปถัมภ์กับเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่น การมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นและเชื่อถือในหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล เคารพกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตยมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการปกครองมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองของตนและมีความเชื่อมั่นในตนเอง การมองโลกในแง่ดีมีความไว้วางใจ เพื่อนมนุษย์รู้จักวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ และการไม่มีจิตใจแบบเผด็จการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฉัตรชัย สุระภา. (2554). ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลธัญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาญชัย ฮวดศรี. (2558). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นำชุมชนจังหวัดขอนแก่น. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ต่อสกุล พุทธพักตร์. (2562). ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติกับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปรีชา อุยตระกูล และคณะ. (2561). ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(2), 243-262.
พรางกูร วงศ์ลือเกียรติ. (2559). ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น ในเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2544). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
วิศรุตา ทองแกมแก้ว และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบปรึกษาหารือกับการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 1-16.
ศิริรัตน์ ธรรมใจ. (2563). การรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.