การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับชุมชน

Chot Bodeerat
Thailand
Kampanart Wongwatthonaphong
Thailand
Tanastha Rojanatrakul
Thailand
Wongsakon Jaimpao
Thailand
Pattanaphan Khetkan
Thailand
Kanjana Hroida
Thailand
Peangta Chumnoi
Thailand
Nareekarn Aphiraknukunchai
Thailand
Arisata Tasa
Thailand
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เครื่องปั้นดินเผา, ตำบลเมืองเก่า, การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ
เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 29, 2019

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา และเพื่อศึกษาการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับชุมชน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 400 คน และเชิงคุณภาพ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตีความเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการผลิต ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านทรัพยากร 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา พบว่า ด้านทรัพยากร ส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น ด้านกระบวนการผลิต การวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้งานของแต่ละกลุ่มมีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกัน ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ลวดลายจะเป็นรูปปลา รูปช้าง และรูปดอกบัว ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ประจำจังหวัดสุโขทัย ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีการพัฒนาเครื่องมือ/อุปกรณ์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพมากกว่าเดิม ด้านการส่งเสริมการตลาดมีการจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาไปตามจังหวัดต่าง ๆ และผ่านตัวแทน 3) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา พบว่า ด้านทรัพยากร ดินที่นำมาใช้ในการปั้นต้องเป็นดินเหนียวที่ไม่มีวัชพืชหรือกรวดทรายปน ด้านกระบวนการผลิต มีการเตรียมดิน การผลิตชิ้นงาน ขั้นตอนการตกแต่งเคลือบเผา  ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทีมวิจัยได้ออกแบบลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มี 2 ชิ้นงาน คือ จาน ออกแบบเป็นรูปปลาตะเพียนและวัดศรีชุม ส่วนแก้ว ออกแบบเป็นรูปช้างและรูปนกแก้ว ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาลวดลายใหม่ พร้อมทั้งจัดทำบรรจุภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้ทำการประชาสัมพันธ์เครื่องปั้นดินเผาผ่านทางช่องทางสื่อออนไลน์ ๆ สร้างเพจในเฟสบุ๊ค

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

Bodeerat, C., Wongwatthonaphong, K., Rojanatrakul, T., Jaimpao, W., Khetkan, P., Hroida, K., Chumnoi, P., Aphiraknukunchai, N., & Tasa, A. (2019). การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/213283

บท

บทความวิจัย (Research Articles)