คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
Journal of Local Governance and Innovation
วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
ISSN (Print) : 2673-0839
ISSN (Online) : 2673-0405
ขั้นตอนการดำเนินงานวารสาร
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
แบบฟอร์มการส่งบทความ
ใบตอบรับการเป็นสมาชิกวารสาร
รูปแบบบทความวิจัย
รูปแบบบทความวิชาการ
ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. บทความวิจัย
รายงานผลวิจัยที่นำเสนอผลลัพธ์จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ
1.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.3 สังกัดผู้นิพนธ์ (Author Affiliation) ให้ระบุสังกัดผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและแปลเป็นภาษาอังกฤษ
1.4 ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ให้ระบุอีเมลผู้นิพนธ์ที่เป็น “ผู้ประพันธ์บรรณกิจ”
1.5 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) และคุณค่าหรือการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ควรมีความยาวไม่เกิน 750 คำ
1.6 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล โดยคำสำคัญแต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ทั้งนี้ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ
1.7 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่มีความทันสมัยและความถูกต้องที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเป็นการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (In-text Citation) แบบนามปีที่ใช้ระบบ APA Style version 7th Edition (American Psychological Association Citation Style) คือ การอ้างอิงเอกสารไว้ส่วนหน้าหรือส่วนหลังของข้อความนั้น ๆ ให้ใช้ได้ทั้งภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้หากการอ้างอิงเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ระบุเฉพาะนามสกุลผู้นิพนธ์คั่นด้วยจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ (ค.ศ.) ตามรูปแบบดังนี้ Author/(Year of Publication) หรือ (Author,/Year of Publication) หรือ (Author & Author/Year of Publication) เช่น Bunkhrong (2022 หรือ (Bunkhrong, 2022) หรือ (Bunkhrong & Supsin, 2022) เป็นต้น หากผู้นิพนธ์มีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อคนที่ 1 แล้วตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ et al. ตามรูปแบบดังนี้ Author/et al.,/(Year of Publication) หรือ (Author/et al.,/Year of Publication) เช่น Bunkhrong et al. (2022) หรือ (Bunkhrong et al., 2022)
1.8 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
1.9 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) เป็นการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่สนใจ จากงานวิจัย บทความ หรือหนังสือที่ตีพิมพ์มาก่อนหน้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอในมุมมองของผู้นิพนธ์ พร้อมระบุแหล่งที่มาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้อง
1.10 กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) (ถ้ามี) เป็นการบอกทิศทางในการศึกษาค้นคว้า เป็นโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด ตัวแปร และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของงานวิจัยได้อย่างชัดเจน และเป็นประโยชน์ในการวางแผนการวิจัยและการนิพนธ์บทความ
1.11 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียด และชัดเจน กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษา เช่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ขอบเขตการศึกษา วิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้และการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ (ถ้ามี) วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยมีความเหมาะสมและคุณภาพ รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
1.12 ผลการวิจัย (Research Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง หรือแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
1.13 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) อภิปรายผลโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนำข้อค้นพบของงานวิจัยมาอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
1.14 ความรู้ใหม่ (New Knowledge) (ถ้ามี) นำเสนอข้อค้นพบที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่จากงานวิจัย เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ สำหรับเป็นแนวทางที่มีคุณค่าและสารมารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ โดยแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยผังความคิด หรือแผนภาพ และมีการบรรยายในเนื้อเรื่อง ตามความเหมาะสม
1.15 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) ระบุข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
1.16 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่มีความทันสมัยและความถูกต้องที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเป็นการอ้างอิงแบบนามปีที่ใช้ระบบ APA Style version 7th Edition (American Psychological Association Citation Style) ให้ใช้ได้ทั้งภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ รูปแบบการอ้างอิงให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
2. บทความวิชาการ
หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ
2.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.3 สังกัดผู้นิพนธ์ (Author Affiliation) ให้ระบุสังกัดผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและแปลเป็นภาษาอังกฤษ
2.4 ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ให้ระบุอีเมลผู้นิพนธ์ที่เป็น “ผู้ประพันธ์บรรณกิจ”
2.5 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) และคุณค่าหรือการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ควรมีความยาวไม่เกิน 750 คำ
2.6 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล โดยคำสำคัญแต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ทั้งนี้ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ
2.7 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษา ทั้งนี้ ควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่มีความทันสมัยและความถูกต้องที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเป็นการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (In-text Citation) แบบนามปีที่ใช้ระบบ APA Style version 7th Edition (American Psychological Association Citation Style) คือ การอ้างอิงเอกสารไว้ส่วนหน้าหรือส่วนหลังของข้อความนั้น ๆ ให้ใช้ได้ทั้งภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้หากการอ้างอิงเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ระบุเฉพาะนามสกุลผู้นิพนธ์คั่นด้วยจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ (ค.ศ.) ตามรูปแบบดังนี้ Author/(Year of Publication) หรือ (Author,/Year of Publication) หรือ (Author & Author/Year of Publication) เช่น Bunkhrong (2022 หรือ (Bunkhrong, 2022) หรือ (Bunkhrong & Supsin, 2022) เป็นต้น หากผู้นิพนธ์มีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อคนที่ 1 แล้วตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ et al. ตามรูปแบบดังนี้ Author/et al.,/(Year of Publication) หรือ (Author/et al.,/Year of Publication) เช่น Bunkhrong et al. (2022) หรือ (Bunkhrong et al., 2022)
2.8 เนื้อหา (Content) เนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นเรื่องย่อย ๆ และการจัดเรียงลำดับเป็นไปตามรายละเอียดของเนื้อหา เสนอผลการศึกษาที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการศึกษา ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง หรือแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม มีนำเสนอข้อค้นพบที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่จากงานวิจัย เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ สำหรับเป็นแนวทางที่มีคุณค่าและสารมารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ โดยแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยผังความคิด หรือแผนภาพ และมีการบรรยายในเนื้อเรื่อง ตามความเหมาะสม
2.9 บทสรุป (Conclusion) การสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน กระชับ โดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่นำเสนอให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา หากมีข้อเสนอแนะการนำผลการศึกษาไปใช้ และข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไป จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษา
2.10 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่มีความทันสมัยและความถูกต้องที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเป็นการอ้างอิงแบบนามปีที่ใช้ระบบ APA Style version 7th Edition (American Psychological Association Citation Style) ให้ใช้ได้ทั้งภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ รูปแบบการอ้างอิงให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ