แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.69คำสำคัญ:
สมรรถนะผู้นำในอนาคต, ผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางการพัฒนา, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง
เครจซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 14 คน และครู 317 คน รวม 331 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 สภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทาง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินแนวทาง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.32) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น 0.42 – 0.48 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา พบ 15 แนวทาง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง 5 แนวทาง การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 4 แนวทาง การบริหารเชิงกลยุทธ์ 3 แนวทาง และการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร 3 แนวทาง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85) และ( =4.82) ตามลำดับ
Downloads
References
กุลเชษฐ์ มงคล. (2563). การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ภายใต้วิกฤติ: สมรรถนะสำคัญของกำลังคน ในโลกแห่งคามผันผวนยุค VUCA. วารสารข้าราชการ Civil Service e-Journal. 62(2) : 12-14.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (2565). แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา และประทุมทอง ไตรรัตน์. (2566). สมรรถนะของผู้นำทางการศึกษาเพื่อการอยู่รอดและเติบโตในยุค BANI World. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่แปซิฟิค. 9(1) : 16-28.
สิรินาถ ปัทมาวิไล, อโนทัย ประสาน และวีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. 9(17) : 91-103.
พรสุดา หลักคำ และเสาวนี สิริสุขศิลป์. (2565). โมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29(2) : 164-179.
สุจิตรา พิพัฒนพงษ์, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2565). สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 15(2) : 21-37.
เสกสรรค์ สนวา ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และวิไลลักษณ์ ขาวสะอาด. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์การภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20 (2) ; 399-411.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2566). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษามหาสารคาม ปี 2566. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
วชิรวิทย์ สุราสา, และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2566). อนาคตภาพการบริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 6(5) : 657-671.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.