“สูงวัยสร้างเมืองท่างาม” การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ไททัศน์ มาลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.22

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, สูงวัยสร้างเมืองท่างาม

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 คน การสังเกตการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการให้ความหมาย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ

         ผลการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลท่างามเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จึงได้นำแนวคิดสูงวัยสร้างเมืองท่างามเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุใน 5 มิติ คือ ด้านสังคมเกิดกิจกรรมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุอย่างหลากหลาย ด้านเศรษฐกิจเกิดการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ ด้านสุขภาพเกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยจิตอาสาในชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมมีการดูแลที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุภายใต้ศูนย์เรียนรู้การจัดปรับอาคารสถานที่ให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและคนทุกวัยตำบลท่างาม และด้านการมีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และสถาบันทางวิชาการ โดยการดำเนินกิจกรรม 6 ชุดกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุ การจัดตั้งกองทุนหรือจัดให้มีสวัสดิการช่วยเหลือ การพัฒนาและนำใช้ข้อมูล และมีกฎระเบียบเพื่อแนวปฏิบัติเพื่อหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). แผนกลยุทธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กัมลาศ เยาวะนิจ, บุญอนันต บุญสนธิ์ม ปยะ กลาประเสริฐ และดวงพร อุไรวรรณ. (2566). การพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 18(2) : 71-80.

จิตรา หมั่นกิจ, กรุณา เชิดจิระพงษ์, เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล และพิมพ์พจี บรรจงปรุ (2566). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. วารสารการบริการการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(1) : 123-140.

ปริพัช เงินงาม, ผกามาศ คำาเสือ, ฐิติรัตน์ ชัยชนะ และศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์. (2566). การศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริการการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2) : 43-56.

วริศรา อินทรแสน. (2562). การพัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สังวาล จ่างโพธิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 7(2) : 165-183.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม. (2566). แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม พ.ศ. 2566–2570. สิงห์บุรี : สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม.

อาภากร ปัญโญ, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และประทีป พืชทองหลาง. (2564). การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพหุภาคีจังหวัดลำพูน. วารสารการบริการการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(1) : 285-297.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2024

How to Cite

มาลา ไ. (2024). “สูงวัยสร้างเมืองท่างาม” การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 367–382. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.22