บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภคนันท์รัตน์ สมบัติวงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คึกฤทธิ์ ศิลาลาย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.20

คำสำคัญ:

การนิเทศภายในโรงเรียน, บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

         การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยเหลือ ชี้แนะและพัฒนางานให้ประสบผลสำเร็จ ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนให้กระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของประเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 278 คน จากการเปิดตารางของ Cohen เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิดตรา กิจพิศุทธิ์. (2544). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์3.

ทิพย์ทิวาพร ปานทอง. (2554). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นิติกร สาศรี. (2565). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. Joumal of Modern Leaming Development. 7(10) : 16–28.

ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน. (2563). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. มหาวิทยาลัยราชธานี.

ปนัดดา ศิริพัฒนกุล. (2558). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระของ จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

เมธินี สะไร. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกยากลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ระวีวรรณ สุขเจริญ. (2565). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกยา สหวิทยาเขตนวลจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารร้อยแก่นสาร. 7(8) : 457-473.

สุภาพร แซ่ลี่. (2563). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน อำเภอสะเดา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุรีรัตน์ เบญกูล. (2563). แนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายใน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10(2) : 110-120.

อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสะบ้าข้อย จังหวัดสงขลา. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อิสรา พิมคีรี. (2563). บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศการศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(1) : 137-152.

Cohen, L., Manion L., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education. 7 th Ed. New York : Routledge.

Likert, R, A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychological. 25(140) : 1-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2024

How to Cite

สมบัติวงค์ ภ., & ศิลาลาย ค. (2024). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 327–346. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.20