ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • แสงอุษา ภู่มงคลสุริยา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ดนัย ลามคำ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ธีรวัฒน์ หินแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.19

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว จำนวนทั้งสิ้น 378 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ยามาเน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental random sampling) โดยการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟา (Coefficient of Alpha) ซึ่งต้องได้ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-Test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.62) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการ ( = 3.72) รองลงมาคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.71) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 3.37) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน ก็พบว่าทุกด้านก็ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางในการปรับปรุงการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ได้แก่ ควรจะมีนโยบายแสวงหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน มีการพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรรณรัตน์ วิทยากิตติพงษ์. (2551). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารออมสินสาขาในสังกัดเขตนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 1(7) : 105-145.

ธัมมาภรณ์ ศรีเคลือบ และพัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2559). การบริการสาธารณะของเทศบาลศึกษากรณีเทศบาลตำบลเมืองบัวอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา.

ปิยะนุช ตันเจริญ และสุรศักดิ์ โตประสี. (2560). คุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านงานสวัสดิการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”. ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 6 เมษายน 2560. หน้า 1-90.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู.

Parasuraman, A. & Berry, L. L. (1988). A conceptual model of service quality And itsimplications for future research. Journal of Marketin. 1 : 44.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985, Fall). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing. 49 : 41-50.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-04-2024

How to Cite

ภู่มงคลสุริยา แ., ลามคำ ด., & หินแก้ว ธ. (2024). ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 311–326. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.19