การปรับปรุงพนักงานแผนกเอกสารขาเข้า กรณีศึกษา บริษัทธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เขตสาธร

ผู้แต่ง

  • ณัชภัค พุฒิวร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • กันต์สินี นุชเพนียด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.8

คำสำคัญ:

ขนส่งทางทะเล, ค่าใช้จ่ายในประเทศ, เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าขาเข้า, นำเข้า-ส่งออก, ใบสั่งปล่อยสินค้า

บทคัดย่อ

         การศึกษาวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าขาเข้า เมื่อพบปัญหาในการดำเนินงาน จึงใช้ทฤษฎี เข้าไปแก้ปัญหา โดยใช้แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) ในการค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น จากนั้นนำทฤษฎี SWOT (SWOT Analysis)เข้าไปวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ของขั้นตอนการดำเนินการของแผนกเอกสารขาเข้า วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายในเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผลของงานในแต่ละขั้นตอนมาทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องหรือแนวคิดไคเซ็น โดยใช้หลักการ ECRS มาเป็นแนวความคิดในการค้นหาแนวทางการปรับปรุงการกระบวนการทำงาน โดยจากการศึกษาพบว่า

  1. การลดกระบวนการทำงานด้านเอกสารขาเข้า จากที่ต้องส่งเอกสารช้าหรือซ้ำที่นำมาที่คีย์เอกสารลงในระบบผิดพลาดต้องมีการตรวจสอบเอกสารก่อนทำการคีย์ลงระบบ และมีการตรวจเช็คก่อนว่าชุดเอกสารที่จัดทำถูกชุดหรือไม่ มีความถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อทำแล้วจึงพบว่าลดความซับซ้อนในการหาเอกสาร กระบวนการทำงานรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาในเรื่องของการแก้ไขเอกสาร เรื่องการใช้เวลามากเกินไป กล่าวคือมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ 
  2. มีการหยิบเอกสารอ้างอิงได้ถูกชุด /ไม่เกิดปัญหาเอกสารสลับชุด และมีการจัดชุดเอกสารใบสั่งปล่อยสินค้า ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน มีความพร้อมในการปล่อยงานให้ลูกค้า มีการจัดระบบในการเรียงชุดเอกสารงาน เพื่อให้ง่ายต่อการสั่งปล่อย มีการแจ้งกำหนดช่วงเวลารับเอกสารอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาการมารับเอกสารในเวลาพร้อม ๆ กัน
  3. มีการแจ้งลูกค้าว่าต้องทำการชำระค่ามัดจำตู้ด้วยเงินสดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรวมเช็คมัดจำตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือ ค่าเคลียร์สินค้าในประเทศ(Local charge) ในเอกสารชุดเดียวกันช่วยลูกค้าและเป็นการลดความผิดพลาดจากการทำงานได้มากว่า ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่เกิดความผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร และ การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

จักรี อุดมดี. (2557). การลดของเสียในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐชยา ค้าผล. (2554). การลดสินค้าเสียหายจากกระบวนการขนส่งของผู้ให้หบริการด้านโลจิสติกส์ ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐยศ สมชานุ. (2555). การลดกระบวนการรอคอยงานในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษ. หลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนกฤษ ซุ่นเซ่ง. (2557). การลดของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติกกรณีศึกษา:ของเสียประเภทจุด. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาการจัดการทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พนิดา หวานเพ็ชร. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการทางานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น: กรณีศึกษา แผนกบัญชีค่าใช้จ่าย. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภูวนาท เทพศุภร. (2549). ศึกษาความสำเร็จของการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยวิธี Kaizen กรณีศึกษา บริษัทโซนี่ เทคโนโลยีจำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อมรรัตน์ วัดเล็ก. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการผลิต. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

พุฒิวร ณ., & นุชเพนียด ก. (2024). การปรับปรุงพนักงานแผนกเอกสารขาเข้า กรณีศึกษา บริษัทธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เขตสาธร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 111–122. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.8

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่