กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต วงค์มั่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัตนะ ปัญญาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://orcid.org/0000-0001-7801-9340

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.10

คำสำคัญ:

เทศกาล, สินค้าทางวัฒนธรรม, อำนาจละมุน, มาลัยข้าวตอก, กระบวนการกลายเป็นสินค้า

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และ2) เสนอแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนราชการระดับท้องถิ่นอำเภอและจังหวัด ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2566 แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ศึกษาครั้งนี้ได้แก่แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น, การบูชาด้วยข้าว, สินค้าวัฒนธรรมและอำนาจละมุน และทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นสินค้า

         ผลการศึกษาพบว่าประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก เกิดขึ้นจากเงื่อนไขประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และความทันสมัย จนกระทั่งถูกอธิบายช่วงชิงความหมายและทำให้เป็นสินค้าซึ่งแบ่งได้ 3 ยุคดังนี้ยุคที่ 1 สร้างบ้านแปงเมือง (ก่อนปี พ.ศ.2500) ยุคประเพณีชาวบ้านเกิดจากความเชื่อความศรัทธาเรื่องดอกมณฑารพ ซึ่งได้เริ่มมีฐานะเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อจิตใจและเกี่ยวข้องกับฮีต 12 วิถีเกษตรกรรม มีพระสงฆ์และชาวบ้านเป็นแกนหลักใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวในการทำขนาดมาลัยไม่เกิน 1 เมตร ต่อมาในยุคที่ 2 ประเพณีท้องถิ่น (พ.ศ.2540 – 2555) เริ่มมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลฟ้าหยาด, อำเภอมหาชนะชัย,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เพิ่มกิจกรรมภายในงาน เช่นขยายระยะเวลาการจัดงานเป็น 3 – 5 วัน ,คอนเสิร์ต,การประกวดมาลัยข้าวตอกชิงถ้วยพระราชทาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการว่าจ้างรับเหมาทำมาลัยข้าวตอกขึ้น และต่อมาในยุคที่ 3  ยุคกลายเป็นสินค้า (พ.ศ. 2556 – 2566) ยุคประเพณีท่องเที่ยว ที่เกิดจากนโยบาย 5 F มาลัยข้าวตอกได้มีขนาดใหญ่อลังการ มีการรำบวงสรวง พิธีเปิดงาน รูปแบบของการจัดงานจะอยู่ภายใต้ระเบียบของรัฐ และนโยบายการส่งเสริมให้วัฒนธรรมเป็นสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็น soft power ส่วนแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก สามารถกำหนดในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์คือควรนำมาลัยข้าวตอกไว้ในคำขวัญจังหวัดยโสธร เพื่อต่อยอดนโยบาย “เกษตรอินทรีย์วิถีอีสาน” ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด และท่องเที่ยวชุมชน ในเชิงปฏิบัติควรประเมินผลการจัดงานเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ วิธีการจัดงาน บุคลากร งบประมาณ และการมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยว และ soft power ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศ 16 เทศกาลประเพณีไทยให้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mcot.net/view/ DrnW6xVv. สืบค้น 25 สิงหาคม 2566.

กฤตยภรณ์ ตันติเศรษฐ. (2556). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกเมศ มาสขาว. (2557). เอิ้นแผ่นดินนี้ว่า...ยโสธร. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

ชัชวาล คำแถม. (5 ตุลาคม 2566). นายกเทศมนตรีตำบลฟ้าหยาด. สัมภาษณ์.

ชลธี ยังตรง. (13 กันยายน 2566). ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2544). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2550). ภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.

นงค์นิจ เถาชาลี. (20 กันยายน 2566). ท้องถิ่นอำเภอมหาชนะชัย. สัมภาษณ์.

ทรงสิทธิ์ พจน์ชนะชัย. (20 กันยายน 2566). ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอมหาชนะชัย. สัมภาษณ์.

ธงชัย แสนทวีสุข. (7 กันยายน 2566). ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

อิงอร เนตรานนท์. (2562) พลังอำนาจแห่งชาติซอฟท์เพาเวอร์ของไทยในศตวรรษที่ 21 . วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรังสิต.

ทิพรัตน์ พรมหา. (18 สิงหาคม 2566). สัมภาษณ์.

พระครูอมรโชติวัฒน์. (16 กันยายน 2566). เจ้าคณะอำเภอคำเขื่อนแก้วค้อวัง(ธ) เจ้าอาวาสวัดหอกอง. สัมภาษณ์.

วิเศษศักดิ์ พราวศรี. (2560). มหาชนะชัยเมืองแห่งมาลัยข้าวตอก. ยโสธร: ก้าวหน้าพริ้นติ้ง.

พีรติ จึงประกอบ. (2561). แนวทางการสร้างสรรค์งานออกแบบสัญลักษณ์ความเชื่อความศรัทธาแห่งพวงมาลัยไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14(2) : 109-139.

วาสนา ไชยพรรณนา. (11 กันยายน 2566). วัฒนธรรมจังหวัดยโสธร.สัมภาษณ์.

วิรุจ วิชัยบุญ. (11 กันยายน 2566). ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร.สัมภาษณ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ. (2566). Soft Power อำนาจละมุน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php. สืบค้น20 สิงหาคม 2566.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2552). โลกวิกฤติเพราะคนคิดด้านเดียว. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์. 18(3) : 45-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

วงค์มั่น บ. . ., & ปัญญาภา ร. (2024). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 141–158. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.10