แนวทางและกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ไพศาล นาคกราย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.4

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน, พลวัตการเปลี่ยนแปลง, เศรษฐกิจชุมชน, กลยุทธ์การพัฒนา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจด้วยพลวัตของการเปลี่ยนแปลงบริบทพื้นที่จากอดีตปี 2509 ถึงปัจจุบัน (2) เศรษฐกิจชุมชนภายหลังส่งเสริมหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ (4) แนวทางกลยุทธ์พัฒนาสภาพเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของตำบลบางสวรรค์ ใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว 400 คน  และสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์  SWOT Analysis และหาแนวทางกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

         ผลการศึกษาพบว่า (1) พลวัตของการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม และการเมืองการปกครอง จากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้บริบทพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพอากาศที่แปรปรวน มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อมีเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารทันสมัย วิถีชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาจากภายนอก ราคาผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ เกิดโรคระบาดโควิค 19 มีผลกระทบต่อรายได้และการประกอบอาชีพอื่น ๆ และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ (2) เศรษฐกิจชุมชนภายหลังส่งเสริมหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง รายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านหนี้สินในระบบ ด้านรายได้ ด้านหนี้สินนอกระบบ และด้านรายจ่าย (3) ปัญหาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางรายได้และสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ส่งเสริมอาชีพและกระจายรายได้ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยสรุปการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (4) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควรเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ แก้วเกาะสะบ้า และอัจฉรา บุญเรือง. (2553). ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์ทิมา ปราบทุกข์. (2556). พัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลบางโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชรินทร์พรรณ อะสีติรัตน์. (2553). ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับวิถีชีวิตชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธัญชนก ปะวะละ. (2559). การศึกษาสภาพเศรษฐกิจเพื่อหาแนวทางสร้างความมั่งคั่งภาคครัวเรือนในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(2) : 23-38.

ประภัสสร สมบัติศรี. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. การเกษตรราชภัฏ. 7(1) : 73-83.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2553). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรี หล้าแหล่ง. (2555). การวิเคราะห์โครงสร้างรายได้ ภาระหนี้สิน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้. ชุมพร: สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พันธ์เทวัช ยังดี. (2558). การศึกษาผลกระทบการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจชุมชน รอบปราสาทหินเขาพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองตํ่า จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร. 13(3) : 123 -135.

พิบูล ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์. ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

รักษ์ พรหมปาลิต, ดวงพร อ่อนหวาน, ฐิติ ฐิติจาเริญพร และวรพงศ์ ผูกภู่. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของจังหวัดเชียงใหม่บนพื้นฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สมเจตน์ ผิวทองงาม, จีรวรรณ ศรีหนูสุด, วนิษา ติคำ, จันจิรา เศรษฐพลอย, อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ และนิทัศน์ ไหมจุ้ย. (2561). พุมเรียง : บริบทชุมชน ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2) : 353-375.

สมยศ นาวีการ. (2551). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2564) เพิ่มเติมฉบับที่ 2. สุราษฎร์ธานี : องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์.

อังคณา ฤทธิกุล. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Goeldner, C.R., Ritchie, & B.J.R. (2012). Tourism : principles, practices, philosophies. 12th ed. New Jersey: John wiley& Sons.

Singh, A. (2013). A study of role of McKinsey’s 7S framework in achieving organizational excellence. Organization Development Journal. 31(3) : 39.

Thomas L. Wheelen, J. David, H. (2012). Strategic management and business policy: toward global sustainability. Upper Saddle River, N.J. : Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

นาคกราย ไ. (2024). แนวทางและกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 45–62. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.4

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่