การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • รำไพพรรณ สุริยฉาย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัตนะ ปัญญาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://orcid.org/0000-0001-7801-9340
  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.12

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถการคิดวิเคราะห์, ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนกับหลังเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสว่างหนองเสือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 21 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าการทดสอบค่า T แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.62/83.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
  2. 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานผลความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D = 0.13 )

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2552. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิดานันท์ มะลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2549). Brain–Based Learning การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองและสร้างพหุปัญญา (MI) ด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

จิรารัตน์ บุญส่งค์. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เทิดพงศ์ ชัยรัตน์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปิยะธิดา พลพุทธา. (2564). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิลาสินี ไชยปาน. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรเกษม ศรีเวียง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อรทัย ภาสดา. (2556). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องการออมและการลงทุน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Duman, B. (2006). The Effect of Brain-Based Instruction to Improve on Students’ Academic Achievement in Social Studies Instruction. International Conference on Engineering Education. 2(1) : 23-28.

Hoge, P.T. (2003). The integration of brain–based learning and literacy acquisition. Dissertation Abstract International. 63(11) : 3884-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-04-2024

How to Cite

สุริยฉาย ร. ., ปัญญาภา ร., & จอมหงษ์พิพัฒน์ ภ. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 175–188. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.12