การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.3คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะ, การอ่านโน้ตดนตรีสากล, ทักษะการอ่านโน้ต, คีย์บอร์ดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 เอกคีย์บอร์ดจำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.ชุดฝึกทักษะจำนวน 3 ชุด 2. แบบทดสอบการอ่านโน้ตคีย์บอร์ด และ 3. แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตมีประสิทธิภาพเท่ากับ 73.33/88.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่70/70 ในด้านความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดอยู่ในระดับดีมาก ( X̅ =4.55) คิดเป็นร้อยละ 91.00
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ฌานิก หวังวานิช. (2562). การศึกษาผลการเรียนรู้ทฤษฎีการประสานเสียง โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือของนิสิตดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสถาบันวัฒนธรรม. 21(1) : 87-101.
เด่นชัย จิรภัทรสุวรรณ. (2560). การดูแลรักษาคีย์บอร์ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ninchang.com. สืบค้น 15 มีนาคม 2565.
นิภา ชวนะพานิช. (2551). การสร้างแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
นิลาภรณ์ ธรรมวิเศษณ์. (2546). ประโยชน์ของชุดฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้น. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 16(1) : 68-79.
ศุภณัฐ จันทโชติ. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. 3(1) :1-14.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ.
สุธีระ เดชคำภู. (2559). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติคีย์บอร์ดและคีย์บอร์ด โดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อารีรัตน์ วงศ์ตาพระ. (2550). การสร้างและการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Benjamin S. Bloom, B.S. (1994). Human Characteristicsand School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Bloom. (1982). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New Yok: McGraw-Hill.
Bloom, B. S., Englehert, E. J., Furst, W. H. and Hill, D. R. (1956). Taxonmy ducaitonal Objectives : The Cognitive Domain (Handbook 1). New York : Longman.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.