การศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นเครือข่ายกับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.11คำสำคัญ:
ศักยภาพของสถานประกอบการ, การผลิตวัตถุดิบสมุนไพร, การแพทย์พื้นบ้าน, การแพทย์ทางเลือกบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ และ 2) หาแนวทางการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการด้านวัตถุดิบสมุนไพรกับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่ 6 จังหวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ประธานหรือตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านวัตถุดิบสมุนไพร จำนวน 8 คน และหัวหน้าหรือตัวแทนสมาชิกกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความพร้อมของสถานที่และวัตถุดิบสมุนไพร (2) ด้านความพร้อมของบุคลากรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพร และ (3) ด้านองค์ความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนหรือพัฒนาร่วมกันระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพรกับวิทยาลัยการแพทย์ฯ และ 2) แนวทางการสร้างเครือข่ายวัตถุดิบสมุนไพรกับสถานประกอบการด้านวัตถุดิบสมุนไพร มีจำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาและบุคลากร (2) เป็นแหล่งป้อนบุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (3) เป็นแหล่งป้อนผู้เรียนเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพของวิทยาลัยการแพทย์ฯ และ (4) เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา
Downloads
References
กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ - เอกชน. (2560). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ : บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
กาสัก เตะขันหมาก, พนิตสุภา ธรรมประมวล และกานดา เตะขันหมาก. (2562). การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนผลิตธูปหอมสมุนไพรบ้านวง์พัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(2) : 74-89.
คณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2562. มปท. : มปพ.
จตุพร คงทอง, ฐิรารัตน์ แก้วจำนง และสุรีย์พร วุฒิมานพ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10(ฉบับพิเศษ) : 36-47.
นลินี ทองประเสริฐ, กิตติมา จึงสุวดี, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, อัยรดา พรเจริญ และอโณทัย หาระสาร. (2566). ศักยภาพการแข่งขันของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหารจังหวัดอำนาจเจริญ: วิเคราะห์ตามทัศนะของกลุ่มผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมตามแนวดิ่ง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(3) : 1016-1029.
ปิยพัทธ์ หีบแก้ว และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนร้านรุ่งตะวันสมุนไพร ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(2) : 267-280.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2565). การเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 7(3) : 170-184.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556. เล่ม 130 ตอนที่ 10 ก. 1 กุมภาพันธ์ 2556.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. 13 ตุลาคม 2561.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก. 1 พฤษภาคม 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. 1 พฤศจิกายน 2565.
รุจิกาญจน์ สานนท์, สุภัทริภา ขันทจร และกรัยสรญ์ ขันทจร. (2565). ศักยภาพการจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 4(2) : 84-96.
วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก. (2560). ศักยภาพของวิทยาลัยการแพทย์ฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://stam2002.com. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2566.
วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (2565). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2566. เชียงราย : มปพ.
ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์, วรรณษา วังแสนแก้ว และดวงเดือน เภตรา. (2565). การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนสู่การเป็นธุรกิจที่ได้มาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 10(2) : 17-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.