ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ วงค์คำนา คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.9

คำสำคัญ:

ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน, แรงจูงใจ, องค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A's, การทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน แรงจูงใจ และองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพนนณนา คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 29-38 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ 30,001-45,000 บาท อาชีพพนักงานเอกชน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยแตกต่างกัน ผลการวิจัยปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน พบว่า ด้านเวลา และด้านการมีส่วนร่วม มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.2 ผลการวิจัยปัจจัยด้านแรงจูงใจ พบว่า ด้านแรงจูงใจภายใน และด้านแรงจูงใจภายนอก มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 11.7 ผลการวิจัยปัจจัยด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’s พบว่า ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่พัก มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 32.2

Downloads

Download data is not yet available.

References

คเณศ จุลสุคนธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่เป็นทางการกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จ๊อบส์ดีบี ประเทศไทย. (2564). Mid-life crisis ปัญหาหนักใจของวัยกลางคน เบื่องาน หมดไฟ หมด passion ในการทำงาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/mid-life-crisis/. สืบค้น 26 สิงหาคม 2566.

เจ๊ดา วิภาวดี. (2564). เมื่อ Work From Home กินเวลาส่วนตัว Gen Z กับภาวะอยากลาออก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/society /2186893. สืบค้น 26 สิงหาคม 2566.

ชวกร ศรีราชา. (2562). แรงจูงใจ การรับรู้นโยบายภาครัฐ การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐานิตตา สิงห์ลอ. (2563). ความสมดุลในชีวิตการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 3. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤมล สุธีรวุฒิ. (2559). อิทธิพลของความมีอิสระในการทำงานและทุนจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารพาณิชย์ โดยมีแรงจูงใจภายในในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปีวรา เกียรติทนง. (2561). การวิเคราะห์ร่วมในการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศแบบอิสระของนักท่องเที่ยวเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรอรุณ อินชูเดช. (2564). สร้างสมดุลการทำงานเปลี่ยนชีวิตให้มีความสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2459. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565.

ไพศาล อรุณโชคนำลาภ. (2562). การตัดสินใจท่องเที่ยวซ้ำเมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรพรรณ สงัดศรี. (2558). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนบ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณพร วจะสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชั่นวาย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุขวิทย์ บุญสุข. (2561). การศึกษาแรงจูงใจภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การทำงานของพนักงาน Gen Y. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

เสาวรัจ รัตนคำฟู และ เมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/. สืบค้น 1 มิถุนายน 2566.

Grucela, A. (2023). Workation: 35+ Statistics, Facts, and Trends [2023]. [Online]. Available : https://passport-photo.online/blog/workation-statistics/. Retrieved September 25 2022.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

Tourism Western Australia. (2008). Five A’s of Tourism. [Online]. Available : www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/totb_5Asoftourism.html. Retrieved September 25 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

วงค์คำนา ธ., & ศักดิ์นรงค์ อ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 123–140. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.9

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่