แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม หมู่บ้านควายห้วยลำพอก ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศิวาพร พยัคฆนันท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัครเดช สุพรรณฝ่าย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อาภาพร บุญประสพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.56

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ศักยภาพการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยว เชิงนิเวศวัฒนธรรมของหมู่บ้านควายห้วยลำพอก ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของหมู่บ้านควายห้วยลำพอก ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยประยุกต์โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมในพื้นที่ของหมู่บ้านควายห้วยลำพอกจำนวน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านสมบูรณ์ บ้านสะดีย์และบ้านโคกสนวน

         ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวคือปัจจัยด้านการดึงดูดทางการท่องเที่ยวและปัจจัย ด้านศักยภาพบุคลากร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมท่องเที่ยวมีอิทธิพลกับความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยว 3 ด้าน 1. การวางแผนบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 2. การปฏิบัติตามแผนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวและ 3. การติดตามและประเมินผลการท่องเที่ยว ซึ่งพบว่าการวางแผนบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวการทำนุบำรุงรักษาในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวและการติดตามและประเมินผลการท่องเที่ยวส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวใน 3 ชุมชน ควรมีแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว คือ พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกด้านโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวของชุมชนพัฒนาปัจจัยเสริมด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวและจัดการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมของทั้ง 3 ชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการท่องเที่ยว ให้เกิดความสำเร็จและความยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนิษฐิกา ศอกกลาง. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านธารปราสาท อำเภอ โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

กมลกนก เกียรติศักดิ์ชัย, ศริญา ประเสริฐสุด และเธียรรัตน์ ฉัตรภัทรพล. (2562). การสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชน: โอกาสหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาแบบยั่งยืน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19(2) : 177-190.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-2570). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/jO19D. สืบค้น 30 กันยายน 2566.

จารุวรรณ ชูสงค์ และจรวยพร นุ่มน้อย. (2562). การพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก: ตำบลลานข่อย จังหวัดพัทลุง. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1-2) : 15 – 25.

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นพื้นฐาน: กรณีศึกษา บ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณหทัย มุขดีสุทธวัฒน. (2564). ความคาดหวังและการรับรู้ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมายังพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดารียา บินดุสะ และเอมอร อ่าวสกุล. (2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและธรรมชาติเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2562). การจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ป่าไม้. เอกสารประกอบการสอนประมลสารชุดวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อการป่าไม้และสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 5. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหานพรัตน์ เตชวชิโร. (2561). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนคลองบางพระหลวง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ. 1(1) : 1-13.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยพายัพ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.

ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารยาภา มิ่งศิริธรรม และ รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2564). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 11(1) : 38-48.

ศันสนีย์ วุฒิยาภาธีรกุล. (2552). มาตรฐานการท่องเที่ยวยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยว. สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว For Quality. 15(138) : 85-88.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2566). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/AMICD. สืบค้น 15 มกราคม 2566.

สายรุ้ง ดินโคกสูง, วิตติกา ทางชั้น และสุภัชญา ธานี. (2651). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำชีเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 13(2) : 213-221.

อาภาพร บุญประสพ, ศิวาพร พยัคฆนันท์, พัชราภรณ์ เกลียวแก้ว, ธราธร ภูพันเชือก, ดารณี สุรินทรเสนี, อารีรัตน์ สมานดุษณี และปีย์วรา พานิชวิทิตกุล. (2564). การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3): 15-30.

อรพรรณ ถาวรายุศม์ และอาทิตยา แก้วตาธนวัฒ. (2564). การวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3 ed. New York : Harper & Row.

Goodwin, H. and Santilli, R. (2009) Community-Based Tourism: A Success? ICRT Occasional Paper, 11, 1-37. https://shorturl.asia/54h09.

Hair, J. F. and others. (2006). Multivariate data analysis. 6th ed.. New Jersey: Pearson Education International.

Johnson-Conley. (2009). Using community-based participatory research in the development of a consumer-driven cultural competency tool. Ph.D Dissertation, University of Washington Graduate School.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2023

How to Cite

พยัคฆนันท์ ศ., สุพรรณฝ่าย อ., & บุญประสพ อ. (2023). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม หมู่บ้านควายห้วยลำพอก ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 191–212. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.56