การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.49คำสำคัญ:
การสอนภาษาอังกฤษ, ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ขอบเขตการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้ใช้บัณฑิตโรงเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 7 แหล่ง และข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนเครือข่ายในเขตบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 511 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนเครือข่ายในเขตบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจำนวน 122 คนได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ดจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม และ 4) ด้านลักษณะบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบด้านความรู้ มีความต้องการสูงสุด คือ มีความรู้ด้านทักษะทางภาษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสอนภาษาอังกฤษ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษา 2) องค์ประกอบด้านทักษะมีความต้องการสูงสุด คือ มีทักษะในการพัฒนาสื่อและกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษ มีทักษะในการแก้ปัญหาและรู้เท่าทันเทคโนโลยีและมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสืบค้นข้อมูล 3) องค์ประกอบด้านจริยธรรมมีความต้องการสูงสุด คือ มีจรรยาบรรณ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูและมีความเมตตา และ 4) องค์ประกอบด้านลักษณะบุคคลมีความต้องการสูงสุด คือ มีความมั่นใจในตนเอง มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีสามารถในการทำงานเป็นทีม
Downloads
References
กฎกระทรวง. (2565). เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. 4 หน้า.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพุทธศักราช 2547. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน . กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุษรินทร์ เชี่ยววานิช. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูชาวต่างชาติในโรงเรียนสองภาษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพา สุวรรณฤทธิ์. (2542). การสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียน. ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา. คณะคุรุศาสตร์. สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.
รัศมี สีหะนันท์. (2551). การประเมินสมรรถนะความเป็นครูของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ลักษณ์พร เข้มขัน และจิติมา วรรณศรี. (2020). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(4) : 298-309.
Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.
Gillette, Babara. 1987. Two Successful Language Learners : An Introspective Approach. Introspection in Second Language Research. Edited by Clas Fxrch Gabriele Kasper. Clevedon : Multiplelingual Matters Ltd.
Hughes, Stephen Pearse. (2007). The Identification of Quality Indicators in English Language Teaching: A Study in Compulsory and Non-Compulsory secondary Level Language Education in the Province of Granada. [Online]. Available : https://www.researchgate.net/publication/284551772_The_identification_of_quality_indicators_in_English_language_teaching#fullTextFileContent. Retrieved Sep 25, 2023.
Ministry of Education. (2018). Southeast Asia Teachers Competency Framework (SEA-TCF). Bangkok: The Teachers’ Council of Thailand. [in Thai]
Richards, J. C. (2001). Competence and performance in language teaching. New York: Cambridge University Press.
Spencer, L.M., and Spencer, S.M. (1993). Competence at Work : Model for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons, 1993.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.