แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • นวัฒกร โพธิสาร คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • อุมาพร ไชยสูง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • จันทร์ดารา สุขสาม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ปฏิวัติ ยะสะกะ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุภารดี สวนโสกเชือก คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • นิอร งามฮุย คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วิภาวดี พันธ์หนองหว้า คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.45

คำสำคัญ:

เกษตรอินทรีย์, ผลิตภัณฑ์โอทอป, วิสาหกิจชุมชน, แปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาสื่อนวัตกรรมการเพิ่มรายได้ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 12 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและประเด็นคำถามเพื่อการวิจัย  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มจากกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้สื่อนวัตกรรมการเพิ่มรายได้ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามความพึงพอใจสื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการดำเนินการวิจัย มีดังนี้ 1) ผลการศึกษาแนวทางการยกระดับเครือข่ายและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วม กลุ่มมีการขยายผลการจัดตั้งกลุ่มระดับชุมชนเป็นระดับตำบล โดยมีการวางวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ “เกษตรกรตำบลกุดหวายสร้างสุขเพิ่มรายได้ ด้วยเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม” การจัดทำโครงสร้างกลุ่มในรูปแบบคณะกรรมการ มีการยกระดับเครือข่ายโดยสร้างภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอและจังหวัด ในด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้การแปรรูปข้าวเม่าเป็นข้าวเกรียบปรุงรส 2) ผลการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเพิ่มรายได้ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน พบว่า สื่อนวัตกรรมประกอบด้วย โลโก้ สื่อวิดีทัศน์ และสื่อแผ่นพับอินโฟกราฟิกผสานเทคโนโลยีความจริงเสริม และผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.41)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2563). เกษตรอินทรีย์วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน : ยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(1) : 116 - 130.

บุญชม ศรีสะอาด, สมนึก ภัททิยธนี, อรนุช ศรีสะอาด, สมบัติ ท้ายเรือคำ, ประวิต เอราวรรณ์, ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน, ประเสริฐ เรือนนะการ, ญาณภัทร สีหะมงคล, วราพร เอราวรรณ์ และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และจำนงค์ จุลเอียด. (2559). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ภาคเกษตรรุ่นใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8(3) : 140 - 153.

ประจักร์ บุญกาพิมพ์, ชาตรี ศิริสวัสดิ์ และณรงค์ฤทธิ์ โสภา. (2559). รูปแบบการพัฒนาความรู้ เจตคติและการปฏิบัติงานของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิด้วยปุ๋ยอินทรีย์โดยความร่วมมือของสำนักงานสภาเกษตรกรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 11(36) : 91 - 102.

ปิยศักดิ์ ถีอาสนา. (2561). การพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์อัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4(2) : 1 - 6.

พรพิมล โรจนโพธิ์, สมชัย พุทธา และวิวัฒน์ วรวงษ์. (2563). บทบาทของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการพัฒนาและการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ในการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูป. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1) : 412 - 429.

ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กรณีศึกษา ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 5(2) : 116 - 132.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2558). การจัดการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7(13) : 45 - 63.

วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2) : 32 - 45.

ศิริกมล ประภาสพงษ์. (2563). แนวทางการจัดการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดของข้าวหอมมะลิในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(1) : 169 - 181.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2(3) : 68 - 85.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. สืบค้น 18 ตุลาคม 2562.

สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์. (2563). รายงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://surin.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report/surin-province-statistical-report-2020.html. สืบค้น 21 ธันวาคม 2563.

สุภารดี สวนโสกเชือก, ภรณี หลาวทอง, อัญชนา มาลาคำ และทิพเนตร คงมี. (2561). แนวทางการพัฒนาตลาดเชิงสร้างสรรค์ข้าวอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์. PULINET Journal. 5(3) : 107 - 117.

สุวิมล มธุรส และอภิชาต ศิริบุญญกาล. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสินค้า OTOP เพื่อสังคม ในเขตเทศบาลตำบลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2) : 39 - 49.

องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://kudwai.go.th/page.php?pagename=data_detail&id=117. สืบค้น 18 ตุลาคม 2562.

อังกาบ บุญสูง. (2559). การศึกษาแนวทางการสรางเครือขายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11(2) : 403 - 418.

Tangkuptanon, N. and Sudaporn Sawmong, S. (2020). The Impact of Dual QR Code and Augmented Reality in Interactive Application as a Digital Marketing Tool on Customer Satisfaction of Quality for the Toy Museum in Thailand. Journal of KMITL Business School, 10(1), 142 - 152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-11-2023

How to Cite

โพธิสาร น., ไชยสูง อ., สุขสาม จ., ยะสะกะ ป., สวนโสกเชือก ส., งามฮุย น., & พันธ์หนองหว้า ว. (2023). แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 15–38. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.45