แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ โล่ห์นารายณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วิกานดา ชัยรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.59

คำสำคัญ:

การพัฒนาประสิทธิภาพ, การให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน     2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 118 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มาก ( = 3.69, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ ด้านความสะดวก รวดเร็ว และด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก        ( = 3.64, S.D. = 0.65) ด้านกระบวนการและขั้นตอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.18, S.D. = 0.84) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน จำแนกตามอายุต่างกัน ระดับประสิทธิภาพการให้บริการไม่ต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษาและอาชีพ แตกต่างกัน ระดับประสิทธิภาพ  การให้บริการต่างกัน

         ข้อเสนอแนะหากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้นต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของประชาชนผู้มาใช้บริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหรือในระดับมากที่สุด ต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น โดยนำเอาด้านกระบวนการและขั้นตอนมาประยุกต์ พัฒนาความชัดเจนของแผนผังแสดงขั้นตอนการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น: วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

จักรี ขอเจริญ. (2563). ศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www3. ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_ 1597736358_6114832056.pdf. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564.

ชรินทร์ ไชยวรินทรกุล. (2551). ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พิฆเนศพริ้นติ้งเซนเตอร์.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2559). ศึกษาเรื่องการประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2) : 215-227.

เพ็ญศิริ โชติพันธ์. (2551). กลยุทธ์การตลาด. อุบลราชธานี : ตระการการพิมพ์.

มานิตย์ จุมปา. (2556). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุภาพร ยุภาศ. (2563). ผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.namaom.go.th/files/dynamiccontent/file-202664-1611803216908803205.pdf. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564.

วัชรี ภูรักษา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ศรินทิพย์ อรุณสวัสดิ์ฤกษ์, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และวราพร ดำรงกูลสมบัติ. (2564). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารและการพัฒนา. 11(4) : 732-745.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.lp-pao.go.th/Plan/images/book/Book-005.pdf. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564.

เสาวลักษณ์ ดีมั่น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/663_2018_09_20_135637.pdf. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น. (2564). ข้อมูลและรายละเอียดชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://huaykhamin.go.th/public/texteditor/data/index/menu/498. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564.

อัญชลี จอมคำสิงห์ และธนาชัย สุขวณิช. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8. หน้า 3049-3058. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.

Clark, J. (1957). Business fluctuations, growth, and economic stabilization: A reader. New York : Random House.

Daniel, W. (1967). A Comparative survey of local govt and administration. Bangkok : Kurusapha Press.

Harris, G. (1984). Comparative Local Government. Great Britain : Wiliam Brendon and Son.

Holloway, V. (1959). State and Local Government in the United States. New York : McGraw-Hill,.

Katz, E. & Danet, B. (1973). Bureaucracy as a Problem for Sociology and Society. New York : Basic Books.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing. 15th ed. New York : Pearson Publishing.

Lovelock, C. H. Service Marketing. (1996). Upper Saddle River. New Jersey : Prentice-Hall.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York : McGraw-Hill.

Robson, A. (1953). Local government in Encyclopedia of Social Science. New York : The Macmillan Company.

Simon, A. H. (1960). The New Science of Management Decision. New York : Harper & Row.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2023

How to Cite

โล่ห์นารายณ์ พ., โชควรกุล เ., & ชัยรัตน์ ว. (2023). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 241–256. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.59