บทบาทของของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมจัดการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุปัน สมสาร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.58

คำสำคัญ:

บทบาทของชุมชน, การจัดทำแผนด้านสุขภาพ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับบทบาทของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมการจัดทำแผนด้านสุขภาพ เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมการจัดทำแผนด้านสุขภาพ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มเพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลมะบ้า จำนวน 325 คน กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นที่ 95% โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ด้วยการแบ่งสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 10  กลุ่มจาก 10 ชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนหัวหน้าครัวเรือนแต่ละชุมชน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างกัน จากนั้นคำนวณหาขนาดตัวอย่างจาก 10 ชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของยามาเน่ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และกลุ่มเป้าหมายโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์ จำนวน 35 คน  ประกอบด้วย ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 คน  ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/ผู้ช่วยกำนันจาก 10 ชุมชน จำนวน 20 คน และตัวแทนกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 คน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA)

         ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของชุมชนในกระบวนการจัดทำแผนด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของชุมชนในกระบวนการจัดทำแผนด้านสุขภาพ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า  หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลมะบ้าที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีบทบาทในกระบวนการส่งเสริมการจัดทำแผนด้านสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมการจัดทำแผนด้านสุขภาพ พบว่า ควรจัดเวทีการประชุมขึ้นภายในหมู่บ้านเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของหมู่บ้าน และควรให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัญรยาณีย์ กาฬภักดี. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ถนัต จ่ากลาง. (2551). การมีส่วนร่วมของผู้นำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย.

ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำรา. อุบลราชธานี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นาถนภา กอบวิยะกรณ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นิรุจน์ อุทธา. (2551). ทศวรรษที่ 4 การสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคอีสาน. 23(3) : 5–9.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยสาส์น.

พิศมร เพิ่มพูน และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 6(1) : 168-211.

วิชิต อู่อ้น. (2548). การวิจัยธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

วนิดา วิระกุล และนัตถะวุฒิ ภิรมย์ไทย. (2547). การประเมินผลศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในกาบริหารจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า (2565). แผนด้านสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า. องค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวาง จังหวัดร้อยเอ็ด.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York : Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-12-2023

How to Cite

สมสาร์ ส. (2023). บทบาทของของชุมชนในกระบวนการส่งเสริมจัดการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 227–240. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.58

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่