ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการกำหนดนโยบายระบบขนส่งสาธารณะภายในสถาบันการศึกษาและชุมชนเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุรวุฒิ สุดหา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ดุษฎีพร หิรัญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.55

คำสำคัญ:

ก๊าซเรือนกระจก, คาร์บอนฟุตพริ้นท์, พลังงานสะอาด, ภาวะโลกร้อน, รถยนต์พลังงานไฟฟ้า

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีมุ่งประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในระบบขนส่งสาธารณะภายในสถาบันการศึกษาและชุมชนรอบข้าง โดยใช้ยานพาหนะขนส่งสาธารณะประเภทเชื้อเพลิงปกติ และยานพาหนะประเภทไฟฟ้า โดยการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากร นักศึกษา และประชาชนในชุมชนใกล้เคียง รวม 6,163 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณด้วยวิธีของ Taro Yamane คือ 376 คน จากนั้นมีการออกแบบและจัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะ พฤติกรรม การใช้ยานพาหนะ และเชื้อเพลิง มีการใช้เชื้อเพลิงเบนซินมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.68 ดีเซลร้อยละ 11.05 มีต้นทุนการเติมเชื้อเพลิงแต่ละครั้งไม่เกิน 100 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.21 และสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลา 4-7 วัน ร้อย ละ 93.27 มีต้นทุนในการบำรุงรักษายานพาหนะช่วงประมาณ 1,001-5,000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.58 โดยกว่าร้อยละ 54.18 มีค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษา 1 ครั้งในรอบ 2-6 เดือน ผู้ที่ยังไม่พอใจชนิดของยานพาหนะและเชื้อเพลิงที่ใช้ในปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 94.34 และมีความสนใจในยานพาหนะไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 81.13 หากมหาวิทยาลัยมีการให้บริการเช่ายานพาหนะพลังงานไฟฟ้าของตนเอง ประเภทยานพาหนะที่สนใจมากที่สุด คือ จักรยานไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 83.83 การประเภทเช่ารายภาคการศึกษา มีความสนใจมากถึงร้อยละ 67.39 ที่อัตราค่าเช่ารายวัน 10-15 บาท ร้อยละ 96.23 ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรมีสถานีชาร์จของมหาวิทยาลัย และควรจัดตั้งไว้ บริเวณใกล้ประตู 1 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 78.17 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคการขนส่งมากถึง 553.13 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือ คิดเป็นเฉลี่ย 1.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อคนต่อปี หากมหาวิทยาลัยจะมีการส่งเสริมด้านยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบระบบขนส่ง สาธารณะของมหาวิทยาลัย ยังมีความเสี่ยงที่จะเลือกใช้นโยบายในเรื่องนี้ เนื่องด้วย มีผู้ที่สนใจจะใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเพียงร้อยละ 7.82 เท่านั้น ความสนใจหากมีนโยบายเช่าประเภทจักรยานไฟฟ้า มีมากถึงร้อยละ 83.83 โดยหากมีการเก็บค่าเช่ารายวัน 10-15 บาท ร้อยละ 96.23 รายเดือน 250- 300 บาท ร้อยละ 97.84 และรายปี 2,000-2,500 บาท ร้อยละ 100 แต่หากมีการให้บริการเช่ารายภาคการศึกษาจะมีความสนใจมากที่สุดถึงร้อยละ 67.39 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความตระหนักว่า การผลักดันนโยบายสนับสนุนการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยนั้น จะสร้างภาพลักษณ์ให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในอนาคต ร้อยละ 45.28 และยังเห็นว่า การผลักดันนโยบายนี้จะช่วยในการลดโลกร้อนได้ทางหนึ่ง ร้อยละ 28.03 ความคาดหวังให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในระดับมากที่สุด ถึงร้อยละ 83.83 หากยังมีการใช้พลังงานภาคขนส่งในรูปแบบเดิมจะทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายทางสิ่งแวดล้อมในรูปของการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงภาคขนส่งเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 26,313.52 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นรวมทั้งหมด 9,604,433.82 บาทต่อปี ในส่วนของการสร้างสถานีชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย กรณีการสร้างสถานีชาร์จ EV ขนาดเล็ก ที่มีตู้และระบบชาร์จไฟฟ้าแบบธรรมดา หรือ AC Charging 1 เครื่อง และแบบชาร์จเร็ว หรือ DC Charging 1 เครื่อง จะมีต้นทุน 2.1 ล้านแบบแบบปกติ และ 2.6 ล้านบาทแบบ Solar Rooftop โดยระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 2.3 และ 2.8 ปี ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองประสานการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. (2566). เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NAMAs). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : climate.onep.go.th/th/topic/database/nc-bur-btr/gas_targets/. สืบค้น 25 มกราคม 2566.

กอบกุล รายะนาคร. (2552). เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://learn.reo14.go.th/data/KM-reader/Environmental-Economic.pdf. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565.

จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2551). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.jakkrit.lpru.ac.th/pdf/27_11_44/9.pdf. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565.

จักเรศ เมตตะธำรงค์. (2560). ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. คณะอุตสาหกรรมแลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). โครงการรถจักรยานสาธารณะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU BIKE). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.cubike-chula.com/Mains/TermsAndConditions.aspx. สืบค้น 25 เมษายน 2565.

ถาวร ทันใจ. (2554). การจัดทำแบบสอบถาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.fisheries.go.th/adminis/oldweb/web_files/Prachasamphan/10การจัดทำแบบสอบถาม.pdf. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2565.

นันท์นภัส เพชรคงทอง. (2560). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยสีเขียว: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 14(2) : 89-104.

วรเชษฐ์ ศรีสถิต. (2559). การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วริศรา เปลี่ยนกลิ่น. (2556). การประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำหรับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวในระบบขนส่ง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรวุฒิ สุดหา. (2562). คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์. 26(1) :227-233.

Justin D.K. Bishop. (2011). Investigating the technical, economic and environmental performance of electrical vehicles in the real-world: A case study using electric scooter. Journal of Power Sources. 196 : 10094-10104.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2023

How to Cite

สุดหา ส., & หิรัญ ด. (2023). ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการกำหนดนโยบายระบบขนส่งสาธารณะภายในสถาบันการศึกษาและชุมชนเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 171–190. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.55

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่