ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับเสรีภาพในการประกอบอาชีพ นอกเวลาราชการของข้าราชการพลเรือน

ผู้แต่ง

  • เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ตรีเนตร สาระพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กันย์กัญญา ใจการวงค์สกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วศิน สุวรรณรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.61

คำสำคัญ:

เสรีภาพในการประกอบอาชีพนอกเวลาราชการ, ข้าราชการพลเรือน, ความผิดทางวินัย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของข้าราชการพลเรือนนอกเวลานอกราชการนั้นสามารถประกอบอาชีพในช่วงเวลาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วกำหนดเวลาประกอบอาชีพของข้าราชการพลเรือน คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลา 8.30 – 12.00 น. และเวลา 13.00 – 16.30 น. และหยุดประกอบอาชีพในวันเสาร์และอาทิตย์ของทุกสัปดาห์  ดังนั้น เวลา 16.31 น. เป็นต้นไปของวันจันทร์ถึงวันศุกร์และวันเสาร์ – ถึงวันอาทิตย์
จึงเป็นวันที่ข้าราชการพลเรือนไม่ต้องไปทำงานเพราะเป็นเวลานอกราชการ หากพิจารณาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 40 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ” ย่อมหมายความว่า นอกเวลาราชการย่อมเป็นเสรีภาพของข้าราชการพลเรือนในการที่จะประกอบอาชีพใด ๆ ก็ได้

          เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วข้าราชการพลเรือนจะมีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวจะไม่ประกอบอาชีพอื่นนอกเวลาราชการแต่ยังมีการเข้าใจผิดว่าข้าราชการพลเรือนไม่สามารถประกอบอาชีพนอกเวลาราชการได้ บทความนี้จะเป็นแนวทางให้กับข้าราชการพลเรือนในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจก่อนประกอบอาชีพนอกเวลาราชการ

          จากการศึกษาพบว่า ข้าราชการพลเรือนสามารถประกอบอาชีพนอกเวลาราชการได้ทั้งในการประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นการรับจ้าง ในกรณีที่เป็นการประกอบอาชีพอิสระนั้นจะต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

          อย่างไรก็ตาม แม้ข้าราชการพลเรือนจะมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพนอกเวลาราชการได้ แต่ต้องพึงระวังความประพฤติของตนเองมิให้มีความประพฤติที่เป็นความผิดทางวินัย นอกเวลาราชการ เนื่องจากข้าราชการพลเรือนพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 82 (10) บัญญัติไว้ว่า “ข้าราชการพลเรือนต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย” และมาตรา 85 (4) บัญญัติไว้ว่า “ข้าราชการพลเรือนกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง”

          ส่วนในเวลาราชการ ข้าราชการพลเรือนต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาราชการ หากเอาเวลาราชการไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานในหน้าที่ก็อาจมีความผิดทางวินัย ตามมาตรา 82 (4) ฐานไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2566). ถามมา วินัยขอตอบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ldd.go.th/Web_Ethics/PDF/ Infographic/InFo_9.pdf. สืบค้น 12 สิงหาคม 2566.

กิตติชัย จงไกรจักร. (2562). ปัญหาการห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษาในคดีอาญาได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพในระบบกฎหมายไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตรีเนตร สาระพงษ์ อรรถพงษ์ กาวาฬ และขรรค์เพชร ชายทวีป. (2565). ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและมาตรฐานการลงโทษของ อ.ก.พ. กระทรวง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13(1) : 208 – 222.

แนวคำวินิจฉัยศาลปกครอง เล่มที่ 6. (2559). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สำนักงานศาลปกครอง.

แนวคำวินิจฉัยศาลปกครอง เล่มที่ 7. (2560). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สำนักงานศาลปกครอง.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักการพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดเวลาและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2502.

ปรางชมพู จงอนุรักษ์. (2559). ปัญหาการคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพในระบบกฎหมายไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์. (2560). เสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. รายงานการศึกษาวิจัยเสนอสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551.

พัฒน์พงศ์ อมรวัฒน์. (2559). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

มนต์ผกา แก้วแย้ม. (2561). ปัญหาหลักความเสมอภาคในกรณีชายมีภริยาได้หลายคนตามหลักกฎหมายอิสลามในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

รายการฟาดหัวข่าว. ช่องอมรินทร์ทีวี (21 มิถุนายน 2566). (2566). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=_b2_0g6hyO0. สืบค้น 5 กันยายน 2566.

วารุณี วัฒนประดิษฐ. (2551). เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศาลปกครอง. (2566). สืบค้นคำพิพากษา/คำสั่ง/คำแถลงการณ์ศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้นที่ถึงที่สุด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://admincourt.go.th/admincourt/site/05SearchSuit.html. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2566.

สำนักมาตรฐานวินัย สำนักงาน ก.พ. (2559). คู่มือวิทยากรในการพัฒนาข้าราชการ เรื่องวินัยข้าราชการพลเรือน. นนทบุรี : โรงพิมพ์สำนักงาน ก.พ.

เสมอ กาฬภักดี. (2564). รวมกฎหมายเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือนและอธิบายบทวินัยรายมาตรา. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2566). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/ crime/1714051#google_vignette. สืบค้น 5 กันยายน 2566.

หอภาพยนตร์. (2566). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.fapot.or.th/main/ information/ star/view/45. สืบค้น 5 กันยายน 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2023

How to Cite

ทิพย์ชัย เ., สาระพงษ์ ต. ., ใจการวงค์สกุล ก. ., สุวรรณรัตน์ ว. ., & หนูชัยแก้ว ก. (2023). ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับเสรีภาพในการประกอบอาชีพ นอกเวลาราชการของข้าราชการพลเรือน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 273–292. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.61