การเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเชิงรุกร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษาครู
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.47คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์นวัตกรรม, การเรียนแบบร่วมมือเชิงรุก, บทเรียนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเชิงรุกร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษาครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ 2 รูปกลุ่ม คือ กลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ และ กลุ่มร่วมมือแข่งขัน ร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบเชิงรุกรวมกับการเรียนแบบออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และแบบสุ่มจับคู่ (Match Pair)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนออนไลน์แบบร่วมมือที่แตกต่างกันในการเรียนเชิงรุกออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่แตกต่างกันในการเรียนเชิงรุกออนไลน์ แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างคะแนนหลังเรียนของ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent samples) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาครูที่ใช้รูปแบบการเรียนกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ TAI มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 71.74 สูงกว่า กลุ่มร่วมมือแข่งขัน TGT มีคะแนนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 65.04 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
References
จงจิต เค้าสิม. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
เจนจิรา สีนวล. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทำงานกลุ่ม และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน (TGT) กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(4) : 107–120.
ทัศนีย์ ศรีสะอาด. (2558). การเปรียบเทียบผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(1) : 45-53.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
อุดมเดช ทาระหอม. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่สอดคล้องกับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ในสถานการณ์โควิด – 19. วารสารครุทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธรนี 1(2) : 17-27.
อัญชลี มัดธนู. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TAI กับวิธีการเรียนรู้แบบปกติของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5(1) : 149–158.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.