ผลการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดสภาวะ ของภาระทางปัญญาของนักศึกษา: การวิจัยแบบผสานวิธี

ผู้แต่ง

  • วิกานดา ชัยรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.52

คำสำคัญ:

การปรึกษาแบบกลุ่ม, สภาวะของภาระทางปัญญา, ประสบการณ์ทางจิตใจ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดสภาวะของภาระทางปัญญาและ 2) ศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 8 คน ที่มีค่าเฉลี่ยการมีสภาวะของภาระทางปัญญาสูงกว่า               เปอร์เซนไทล์ที่ 25 และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม รูปแบบกระบวนการวิจัย ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดสภาวะของภาระทางปัญญาก่อน(Pretest) และหลัง (Posttest) เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มจำนวน 8 ครั้ง และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อตรวจประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบวัดสภาวะของภาระทางปัญญา และโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดสภาวะของภาระทางปัญญา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป โดยการตรวจสอบคุณภาพ ผ่านผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ดัชนีค่าความสอดคล้อง IOC ระหว่าง 0.66-1.00 และผลการทดลองการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีคะแนนสภาวะของภาระทางปัญญาหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 2) การศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พบว่า เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถรับฟังปัญหาได้ เพื่อนำไปสู่การเติมเต็มองค์ความรู้ใปสู่การพัฒนาทางด้านการเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2564). จำนวนนักศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://8.nrru.ac.th/. สืบค้น 17 สิงหาคม 2564.

จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ. (2557). การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จำเนียร ช่วงโชติ. (2562). การบริการการปรึกษาและการแนะแนวเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ลักขณา สริวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและเทคนิคการให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วิกานดา ชัยรัตน์. (2563). การศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อลดสภาวะของภาระทางปัญญา. ปริญญาดุษฎีนิพนธ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิกานดา ชัยรัตน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อลดสภาวะของภาระทางปัญญา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15(3) : 173-184.

วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิลาวัณย์ จินวรรณ. (2554). การประยุกต์ทฤษฎีภาระการทำงานทางปัญญา (Cognitive Load Theory) กับการออกแบบการเรียนการสอนทางออนไลน์. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 1(1) : 19-24.

ศุภมาส หวานสนิท. (2561). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการศรีปทุม. 14(4) : 193-202.

พาสนา จุลรัตน์. (2563). จิตวิทยาการรู้คิด. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสมัย หาญสมบัติ. (2554). การแนะแนวและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. อุตรดิตถ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม Group Counseling. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่. ชลบุรี : เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

ภมรพรรณ ยุรยาตร์. (2563). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม : หลักการ แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.

อริยา คูหา. (2565). จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Corey. (2016). Generation Z goes to college/Corey Seemiller. Meghan Grace. San Francisco, CA: Jossey-Bass, A Wiley brand.

Creswell.,J.W. & Plano, Clak, V.L. (2011). Designing and conducting mixed methods research. 2nd ed. CA : Sage.

Jacobs, E.ED , Masson, L. Robert , Harvill, L. R., & Schimmel, J. C. (2012). Group Counseling: Strategies and Skills. 7th. CA : Brooks/Cole.

Sweller, J., Ayres, P., & Kalyaga, S. (2011). Cognitive Load Theory. New York : Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2023

How to Cite

ชัยรัตน์ ว., & โชควรกุล เ. (2023). ผลการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดสภาวะ ของภาระทางปัญญาของนักศึกษา: การวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 117–134. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.52