การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.44คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่า, เศรษฐกิจสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และคนในชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการผลิตผ้าไหมในพื้นที่วิจัย จำนวน 50 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงด้วยการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ และมีความองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าไหม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบาย และการวิเคราะห์พรรณนาความ พิจารณาความสอดคล้องของความคิดเห็น และความเป็นไปได้ของข้อมูลของผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านนาตัง อำเภอเขวาสิรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จุดเด่นคือการย้อมสีธรรมชาติและการย้อมคราม แนวทางในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ คือการย้อมครามให้สีติดง่าย และสีไม่ตก โดยใช้นวัตกรรมคือสารประจุบวก ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้คือ ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ และการย้อมผ้าครามด้วยสารประจุบวก เพื่อให้สีครามสด ไม่ตก ย้อมติดง่ายขึ้น และเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนและฐานการเรียนรู้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถนำไปเป็นของฝาก และของที่ระลึกได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จุดเด่นคือ การย้อมสีธรรมชาติ และเส้นไหมบ้าน แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ คือ การย้อมสีธรรมชาติ และการมัดย้อมเป็นลวดลายต่าง ๆ พร้อมทั้งการนำโปรตีนไหมที่ได้มาใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้คือ ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ และสบู่โปรตีนไหม สามารถพัฒนาเป็นของฝากของที่ระลึก สร้างเป็นฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน และเป็นฐานการเรียนรู้ในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนในมิติของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป
Downloads
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : จากความคิดสร้างสรรค์ สู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/ 123808?fbclid=IwAR3pIFniBxBbNM1D3p3Cco0iBukDoguNeK0Jlr3kaYE88LUtlnUSzQGK9VA. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565.
ณัฐวุฒิพงศศ์ิริ. (2558). การบริหารคนต่างรุ่นในองค์กร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.hri.tu.ac.th/cms/seminardetail.aspx?tid=MTQx/. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565.
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561. (2561). เศรษฐกิจสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.cea.or.th/storage/app/media/ITA2564/Royal-Decree-for-CEA-Establishment.pdf. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2562). “แตนบาติก” ผ้าย้อมครามทะเลจากชุมชนบ้านฉาง ผู้สร้างสรรค์แฟชั่นมัดย้อมและบาติกที่สวยงามเกินราคา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tcdc.or.th/th/all/service/resource-center/article/32163. สืบค้น 28 ตุลาคม 2562.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). Creative Economy พาเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่สากล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nxpo.or.th/th/9440/. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564.
Chamchan, C. and Boonyamanond, S. (2013). Roles of Creative Economy of Community and Social Development in Thailand. NIDA Economics Review. 7(1). 109 : 151. [In Thai]
Donkwa, K. (2018). A model of factors in creative economics and innovative behavior affecting the long-run AEC strategies of Thailand. Silapakorn University Journal .38(1). 207-232. [In Thai]
Pornjaroenkun, A. and Ketanon Neawheangtham, R. (2017). Product Development based on The Creative Economy Concept in to Value-Added of Pratoon Community, surin. Governance Journal. 6(2) : 433-446. [In Thai]
Polmitr, P. and Luanchamroen, S. (2023). The Challenges of Entrepreneurship and Success in the Modern Competition based on the Creative Economy Concept. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University. 10(1) : 271-284 . [In Thai]
Sukasai,L. et al . (2017). Development to Sustainable Community Potential of Local Wisdoms Productive “Native Silk” Based on Sufficiency Economy & Creative Economy of Chaiyaphum Province Communities. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 6(7) : 382 : 398. . [In Thai]
Tipphachartyothin, P. (2014). Quality Control: The importance of consistency. Journal of Productivity world. 19(110) : 91-96. [in Thai]
United Nations. (2008). Creative Economy Report 2008. The Challenge of Assessing the Creative Economy towards Informed Policy-making.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.