การสืบค้นข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.63คำสำคัญ:
การสืบค้นข้อมูล, หลักการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล, การนำข้อมูลไปใช้, การคัดลอกผลงานทางวิชาการ, การตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หลักการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการคัดลอกผลงานวิชาการและการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ
ผลการศึกษาพบว่า เทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล(Search Engine) คือ Google โดยสืบค้นข้อมูลจากคำสำคัญ (Keyword) หากต้องการให้ขอบเขตการค้นหาแคบลง และได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น สามารถใส่เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตรรกะบูลีน และการระบุรูปแบบของไฟล์ ช่วยในการสืบค้นได้ การนำข้อมูลไปใช้จะต้องพิจารณาหลักการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ได้แก่ ความทันสมัยของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ความสอดคล้องกับการใช้งาน ความถูต้องแม่นยำ และจุดมุ่งหมายของแหล่งข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ เป็นการนำข้อมูลที่สืบค้นได้และเลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมไปใช้ อาจใช้วิธีการคัดลอกคำต่อคำ การถอดความ การสรุป ข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ และสารสนเทศที่เป็นส่วนเสริม ต้องมีการอ้างอิงข้อมูลอย่างเหมาะสมและถูกจริยธรรม โดยบันทึกข้อมูลแหล่งอ้างอิงไว้ในบรรณานุกรมทุกครั้ง เพื่อป้องกันข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และควรหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการ หากไม่สามรถหลีกเลี่ยงได้ ควรใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ เพื่อตรวจสอบข้อความคล้ายคลึงหรือความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลที่ต้องการตรวจ รวมทั้งรายละเอียดชื่อเจ้าของผลงาน หน่วยงาน แหล่งตีพิมพ์หน่วยงานหรือสถาบันที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อการนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาใช้ข้อมูลและการอ้างอิงที่ถูกต้อง
Downloads
References
กัญจนา บุณยเกียรติ และประไพพิศ มงคลรัตน์. (2556). การลักลอกงานวิชาการและวรรณกรรม (Plagiarism). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคุ้มครองลิขสิทธิ์วรรณกรรมและงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2550). คู่มือลิขสิทธิ์สำหรับนักเขียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=o-ho&month=04-2007&date=06&group=1&gblog=112. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566.
จิราภา วิทยาภิรักษ์. (2555). บทความปริทัศน์ การลอกเลียนงานวิชาการและวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism). วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(3) : 1-4.
ณัฐรดา วงษ์นายะ. (2564). การป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการ. ในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. เอกสารประกอบการอบรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) และมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ. กำแพงเพชร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ทิพเนตร ปาสานำ. (2561). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. สุรินทร์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ทิวนภา ศิริพรหม และสมฤดี คงพุฒ. (2560). กลวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดลอกงานเขียนทาง วิชาการ : กรณีศึกษานักศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2) : 47-60.
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่ยอมรับได้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thailibrary.in.th/2020/05/14/similarity-percentage. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2563.
รมณีย์ เจริญทรัพย์. (2557). การโจรกรรมทางวรรณกรรม Plagiarism. ใน สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกสารสรุปความรู้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง โจรกรรมทางวรรณกรรม (plagiarism) สำหรับการเขียนบทความทางวิชาการ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วาริน ไพรพันธุ์. (2563). การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://kru-it.com/computing-science-p5/credibility/. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2566.
ศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (2560). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sftc.rtaf.mi.th/index.php/2018-10-22-07-41-38/120-2018-10-22-03-44-24#. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2566.
สุเมศ ชาแท่น. (2560). การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/teacherreybanis1/ngan-xdirek-laea-khwam-samarthphises/bth-thi-7-kar-trwc-sxb-khwam-na-cheux-thux-khxng-khxmul. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (ม.ป.ป.). เทคนิคการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย GOOGLE SEARCH.. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://dept.npru.ac.th/edu2/data/files/20191107142257_20160802085125_PR%20google%20search.pdf. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2563.
Alex Chris. (2023). Top 10 Search Engines in The World (2023 Update). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.reliablesoft.net/top-10-search-engines-in-the-world. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566.
Nguyen Hang - Ba Thi. (2564). ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล – แนวโน้มการพัฒนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vovworld.vn/th-TH/เศรษฐกิจ/ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล – แนวโน้มการพัฒนา-1010963.vov. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.