ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ เพ็ชรมาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.54

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีดิจิทัล, ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดสุรินทร์ จากการคำนวณ กลุ่มตัวอย่างจากสูตรของเครจซี่และมอร์แกน ที่ความเชื่อมั่น .05  ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 65  รูป/คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้แก่ ครูบรรพชิต จำนวน 26 คน และ ครูฆราวาส  จำนวน 39 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านนโยบายการเตรียมความพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า ลำดับความสำคัญของโรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนกับครู เป็นลำดับแรก จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 93.85 2) ผลการวิเคราะห์ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู ค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสืบค้นและการใช้งานดิจิทัลในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ได้ จำนวน 62 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 95.38 และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จำนวน 23 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 35.38

Downloads

Download data is not yet available.

References

จรัสชัย ทองปิว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารวิชาการของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 10 สังกัดสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระธรรมปิ ฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2541). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ทรงฤทธิ์ เสือสวย. (2539). การศึกษาพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของครูดีเด่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สำเร็จ อุดแดง. (2537). สภาพปัจจุบันและความต้องการในด้านการศึกษาของพระสงฆ์ในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุมิตร คุณานุกร. (2534). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนวย มีราคา. (2563). บทบาทครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

ยุทธนา ตุ้มอ่อน. (2558). สมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 617-618.

McCalland, D.C. (1982). The Competent Manager: A Model of Effective Performance. [Online]. Available : www.competency.com. Retrieved August 25, 2022.

Rogers, Everett M. (1995). Diffusion of Innovations. 4th ed. New York : The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2023

How to Cite

เพ็ชรมาก ส. (2023). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 155–170. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.54