การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเรียนรู้เครื่องมือในโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา เชิดโฉม ศูนย์ดิจิทัลโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านชำปะโต
  • กฤษณณัฐ หนุนชู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จักรพงษ์ วารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.57

คำสำคัญ:

สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม, การสอนแบบร่วมมือ, โปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยต์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการสอนแบบร่วมมือ 3. ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม  ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ต.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์  จำนวน 20 คน โดยมาจากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้โดยใช้สถิติ t – test (dependent) โดยผลการวิจัยพบว่า

  1. สื่อการสอนเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเรียนรู้เครื่องมือในโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ มีคุณภาพระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
  2. ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเรียนรู้เครื่องมือในโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ โดยสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเรียนรู้เครื่องมือในโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์. 30(3) : 16-29.

บุษราคัม ทองเพชร, สมพงษ์ แก้วหวัง, ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ, กรภัทร เฉลิมวงศ์, รจนา หนูดำ และ วราสิรี คำทิพย์. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงแบบมัลติมีเดียบนสมาร์ทโฟน เรื่อง ไดโอด รายวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58. วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2563. หน้า 76-84. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิชญาน์ บุญโท, อุไร พรมมาวัน และฐิตินันท์ ธรรมโสม. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยี เสมือนจริง. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(1) : 12-26.

Ángela Di Serio, María Blanca Ibáñez and Carlos Delgado Kloos. (2013). Impact of an augmented reality system on students' motivation for a visual art course. Computers & Education. (68) : 586-596.

Majid, Mohammed, & Sulaiman. (2015). Students’ Perception of Mobile Augmented Reality Applications in Learning Computer Organization. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 176 : 111-116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-12-2023

How to Cite

เชิดโฉม ณ., หนุนชู ก., & วารี จ. (2023). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเรียนรู้เครื่องมือในโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 213–226. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.57