แนวทางการจัดการแบบบูรณาการด่านความมั่นคงของประเทศไทยในสังคมยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น

ผู้แต่ง

  • อภิชา นกยูงทอง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพร เกตุแก้ว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วรเดช จันทรศร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.67

คำสำคัญ:

แนวทาง, การจัดการแบบบูรณาการ, ด่านความมั่นคง, สังคมยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าแนวทางการจัดการแบบบูรณาการด่านความมั่นคงของประเทศไทยในสังคมยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น การพัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงในพื้นที่ด่านความมั่นคงของประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างมาตรการทางความมั่นคงที่เป็นทั้งเครื่องมือรักษาความมั่นคงพร้อมกับการอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจในเวลาเดียวกัน ดังนั้นแนวทางการจัดการแบบบูรณาการด่านความมั่นคงของประเทศไทยในสังคมยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น มี 5 แนวทาง คือ 1) การจัดพื้นที่รักษาความมั่นคงเพื่อสร้างมาตรการคัดกรองความมั่นคงตามลำดับ ซึ่งเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดกรองโรคของผู้คนเดินทางบริเวณขาเข้าเพื่อป้องกันโรคระบาด 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือในการเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลภายในแพลตฟอร์มด้านความมั่นคง รวมทั้งปรับปรุงระบบข้อมูลให้มีความทันสมัยสามารถนำมาใช้งานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์ 3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องตามภารกิจที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 4) ระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีเอกภาพ มีหลักเกณฑ์และแนวทางการทำงานที่ชัดเจน และ 5) ระบบโครงสร้างเชิงสถาปัตยกรรมที่ช่วยส่งเสริมการรักษาความมั่นคงมองเห็นลักษณะและพฤติกรรมของผู้เดินทางชัดเจน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กานต์มณี ไวยครุฑ. (2562). วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาเข้าเมืองผิดกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐ ด้านจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1) : 161-174.

กิตติธัช ผ่องพลีศาล. (2561). สมรรถนะของข้าราชการตำรวจฝ่ายพิธีการเข้าเมืองด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 13(1) : 52-61.

กิตติพงศ์ คงจันทร์. (2562). ฉีดวัคซีนป้องกันไว้ เที่ยวปลอดภัยเมื่อต้องเดินทาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/. สืบค้น 28 พฤษภาคม. 2566.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2563). รูปแบบองค์การเพื่อการจัดการการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งข้ามแดนและผ่านแดน. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 9(1) : 47-57.

ชุติมา เชยชุ่ม, ชาญเดช เจริญวิริยะกูล และอัครมณี สมใจ. (2565). ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ประโยชน์ และการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจแบบใหม่. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5(1) : 120-130.

ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต และธีรพงษ์ บัวหล้า. (2562). มาตรการรักษาความมั่นคงในพื้นที่จุดผ่านแดนทางบกของประเทศไทยที่เหมาะสม. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 12(2) : 79-97.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2563). ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

สรกล อดุลยานนท์. (2562). 6 วิธีรับมือการเปลี่ยนแปลงเมื่อโลกเปลี่ยนไปในยุค Technology Disruption. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.impressionconsult.com/i/6-969B/.สืบค้น 28 พฤษภาคม. 2566.

สาธกา ตาลชัย และสุวัฒนพงษ์ ร่มศรี. (2565). การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในสังคมวิถีใหม่. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 5(2) : 72-84.

สุวรรณี อ่อนละมูล และวรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (2565). ประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเถื่อนเข้าในราชอาณาจักร. วารสารสหวิทยาการและการจัดการภาคเอกชน. 1(1) : 1-12.

อัจจิมา มณฑาพันธุ์. (2557). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการระบุตัวตนโดยการใช้ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของร่างกาย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

Nail, T. (2016). Theory of the Border. New York: Oxford University Press.

Ribble, M. (2019). Digital Citizenship. [Online]. Available : http://www.digitalciti zenship.net/nine-elements.html. Retrieved May 2, 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2023

How to Cite

นกยูงทอง อ., เกตุแก้ว ว., ฉิรินัง เ., & จันทรศร ว. (2023). แนวทางการจัดการแบบบูรณาการด่านความมั่นคงของประเทศไทยในสังคมยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 379–394. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.67