รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.21

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพัฒนา, ประสิทธิผลการดำเนินงาน, รูปแบบ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

         การบริหารจัดการองค์กรนั้นนับเป็นความท้าทายของภาครัฐและเอกชนที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งความคาดหวังความต้องการจากลูกค้าและประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ และ4) สร้างและยืนยันข้อเสนอรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 143 แห่ง ใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หน่วยวิเคราะห์ คือ องค์กร การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ดังนั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 106 แห่ง และทำการเลือกหน่วยตัวอย่างโดยวิธีเจาะจงบุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี แห่งละ 4 คนรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 424 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทาง และวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิที่เกี่ยวกับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และประสิทธิผลที่เกี่ยวกับแรงกดดันจากการเมืองภาคประชาชนอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรพยากรณ์ด้วยกันทั้ง 7 ตัวแปร รวมทั้งหมด 21 ค่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .004 ถึง .449 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ได้ค่าสถิติที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ = 183.209, df = 1, p-value = 0.033, RMSEA = 0.042, RMR = 0.000, GFI = 0.997 , AGFI = 0.904 แสดงว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรง ทางอ้อมและโดยรวม และ 4) การสร้างข้อเสนอรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ คือ การสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติ แรงกดดันจากการเมืองภาคประชาชน ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมการทำงานในองค์การ และสมรรถนะบุคลากร โดยมีค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 4.28 - 4.13 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.5 โดยได้รับการตรวจสอบยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญสอดคล้องกันสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, C.A. : Sage.

Bunnag, L. (2006). THAI HRM &THAI HRD. Bangkok : National Institute of Development Administration. [In Thai]

Collins, J. and Porras, J. (1996). Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies. London: Random House.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Delahaye, B. L. (2005). Human Resource Development: Adult Learning and Knowledge Management. 2nded. Milton, Qld: John Wiley Press.

Department of Local Administration. (2022). Number of local government organizations in Chaiyaphum Province. Online. [Online]. Available : http://www.dla.go.th/work/abt/province.jsp. Retrieved October 11, 2022. [In Thai]

Local government organizations in Chaiyaphum Province. (2022). Development Strategic Plan of Local Administrative Organizations in Chaiyaphum Province 2023-2027. [online]. Available : http://plan.chpao.org/qrcode/myfileupload/20210409124321.pdf. Retrieved January 11, 2022. [In Thai]

Nantapreecha, P. (2012). Factors related to Operational Effectiveness by Indicators Based on the Balanced Scorecard Concept: A Case Study of Community Organization Development Institute. (Public Organization). Thesis M.A. (Social Development Administration). Bangkok: National Institute of Development Administration. [In Thai]

Office of the Public Sector Development Commission. (2022). Certificate of official performance and evaluation of government performance. [Online]. Available : http://www.gotoknow.org/posts/612837. retrieved February 20, 2023. [In Thai]

Robbins, S. P. (2005). Organizational Behavior. 11thed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Srisaard, B. (1990). Preliminary research. 8th edition. Bangkok: Suwiriyasan. [In Thai]

Swanson, R. A. (2001). Assessing the Financial Benefits of Human Resource Development. Cambridge, Mass. : Perseus.

Swanson, R. A. and Holton, E. F. (2001). Foundations of Human Resource Development. San Francisco: Berrett-Koehler.

Tohthong, U. (2008). Operational effectiveness of municipality. Prachuap Khiri Khan Province from the point of view of equilibrium assessment. Thesis M.P.A. (Urban and Rural Community Administration and Development). Phetchaburi : Phetchaburi Rajabhat University. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

How to Cite

สุธรรมดี ฉ. . (2023). รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 1–22. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่