การศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้แต่ง

  • วาฤทธิ์ นวลนาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ฐิตาภรณ์ นิลวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธงชัย เจือจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิริลักษณ์ หวังชอบ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กัญญาณี สมอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วัจนารัตน์ ควรดี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ประฏิชญา สร้อยจิตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.25

คำสำคัญ:

การบริหารการศึกษา, ระดับปริญญาตรี, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, ความบกพร่องทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

          สถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน รวมไปถึงการสร้างระบบและกลไกที่มีประสิทธิผลให้นักศึกษาได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนตลอดระยะเวลา 4 ปี (ปีการศึกษา 2561 – 2564) และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 7 คน ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการจัดการเรียนการสอนตลอดระยะเวลา 4 ปี (ปีการศึกษา 2561 – 2564) ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ โดยปีการศึกษา 2564 มีผู้สำเร็จการศึกษา 6 คน ปีการศึกษา 2565  มีผู้สำเร็จการศึกษา 3 คน และออกกลางคัน 1 คน และผลการศึกษาศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า มหาวิทยาลัยควรวิเคราะห์บริบท สร้างเครือข่ายความร่วมมือ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน จัดหาครูผู้สอนด้านล่ามภาษามือ ติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ ส่งเสริมกำลังใจ ให้ทุนการศึกษา และวางแผนปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามแผนการบริหารการศึกษาของหลักสูตรได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรีฑา สิมะวรา. (2557). โอกาสทางการศึกษากับความเป็นธรรมในสังคม. วารสารสารสนเทศ. 13(2) : 54 – 61.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2557). พื้นฐานการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ : รำไทยเพลส.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). คู่มือการสนับสนุนนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://op.mahidol.ac.th/sa/wp-content/uploads/2018/ documents/other/dss.pdf. สืบค้น 10 มกราคม 2566.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2566). คณะ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.srru.ac.th/faculty. สืบค้น 29 เมษายน 2566.

ยูคิโกะ คาวาอิ. (2560). แนวทางการบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการทางการเห็นที่เรียนวิชาเอกสาขาวิชาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 13(1) : 43 - 57.

รัชนี สรรเสริญ, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, สมพร รักความสุข, วรรณรัตน์ ลาวัง และเบญจวรรณ ทิมสุวรรณ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาคีเครือข่ายการดูแลคนพิการในชุมชนแบบเป็นหุ้นส่วน : กระบวนการ WE CAN DO by TIM. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 5(3) : 17 – 36.

ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. 5 กุมภาพันธ์ 2551.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. 50. 1 พฤษภาคม 2562.

วันทนา สวนเศรษฐ และ สุวพัชร์ ช่างพินิจ. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการให้บริการนักศึกษาพิการของ ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ ในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุพิบูล. 3(1) : 34 - 48.

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2561). กิจกรรมปรับพื้นฐานคอมพิวเตอร์ 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/media/ set/?set=a.2203717656516414&type=3. สืบค้น 29 เมษายน 2566.

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2564). สอบจบโครงงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/computerscience.srru/posts/ pfbid02kUH3UF6sDxKqGfmJAbN9PWBK96LfNj3u27kEhXKbG4m5Ppgr1RA5p418d7ptz8E1l. สืบค้น 29 เมษายน 2566.

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์. (2565). แบบรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) และรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (IQA ระดับหลักสูตร) ระดับปริญญาตรี. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vru.ac.th/ acad/SAPA10_2560/10.58/ประกาศ.pdf. สืบค้น 29 เมษายน 2566.

สิริพัชรีญา ตะวังทัน, วรรณรัตน์ ลาวัง, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 31(2) : 12 - 27.

อาภากร ปัญโญ, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และประทีป พืชทองหลาง. (2564). การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพหุภาคีจังหวัดลําพูน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(1) : 285 - 298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2023

How to Cite

นวลนาง ว., นิลวรรณ ฐ., เจือจันทร์ ธ., หวังชอบ ศ., สมอ ก., ควรดี ว., & สร้อยจิตร ป. (2023). การศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 71–88. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.25