แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาและตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ผู้แต่ง

  • วัลภา รัศมีโชติ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • วรเดช จันทรศร คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • วิพร เกตุแก้ว คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.60

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน, ตลาดน้ำอัมพวา, ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาและตลาดน้ำดำเนินสะดวก โดยศึกษาด้วยวิธีการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งค้นพบว่า ตลาดน้ำทั้ง 2 แหล่ง มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจชุมชน สังคม และประเทศชาติที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป โดยเริ่มต้นจากคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วางแผน รับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำ โดยการเน้นให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี โดยชุมชนควรจัดให้มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์แก่สมาชิกอย่างทั่วถึงและสามารถตรวจสอบได้ 3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของตลาดน้ำ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตลาดน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยการสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในท้องถิ่นรักในแหล่งท่องเที่ยวและดูแลตลาดน้ำ และ 5) ด้านบริการและความปลอดภัยของตลาดน้ำ ควรมีการจัดแบ่งฝ่ายด้านความปลอดภัยในชุมชนที่ชัดเจนและทั่วถึง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรกนก เกิดสังข์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงกลยุทธ์: กรณีศึกษาตำบลบางใบไม้อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กุลธิดา สุริยะวรรณากูล. (2557). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะของตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เขวิกา สุขเอี่ยม และอธิป จันทร์สุรีย์. (2563). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตลาดน้ำดำเนินสะดวก. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 7(1) : 104-111.

จิตราภรณ์ สุทธิวรเศษฐ์, พัชนี เชยจรรยา, บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, กุลฤดี นุ่มทอง, และขวัญชนก มั่นหมาย. (2557). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำในลุ่มน้ำภาคกลางอย่างยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. 1(1) : 99-130.

จิราภรณ์ แก้วมณี. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลลดา มงคลวนิช. (2556). ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม. 25(14) : 44-57.

ชัยวิชญ์ ม่วงหมี. (2562).กลยุทธ์การพัฒนาตลาดน้ำประเทศไทย 4.0 เพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(2) : 61-74.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ณัฎฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13(2) : 25-46.

ณิชมน ภมร และพัชรี ตันติวิภาวิน. (2564). การจัดการแหล่งชุมชนเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม: กรณีศึกษาชุมชนท้องถิ่นตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 7(2) : 106-118.

ธีราพร ทองปัญญา. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดราชบุรี กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(2) : 1-23.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

ปรียาภรณ์ เนียมนก และวศิน เหลี่ยมปรีชา. (2555). การรวมกลุ่มของชุมชนนักปฏิบัติเพื่อสร้างรูปแบบทางตลาดที่ยั่งยื่นผ่านทฤษฎีกิจกรรม: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(1) : 29-38.

พิชญา เทียนภู่ และวัชระ เวชประสิทธิ์. (2564). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการตลาดน้ำชุมชนในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวลัยอลงกรณ์ปริทัศน์. 12(1) : 162-177.

พิมพ์พะงา เพ็งนาเรนทร์. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 4(1) : 85-99.

ภคมน ปาลสุวรรณ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 19(2) : 42-54.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(4) : 51-61.

ศศิกาญ พลายกุมพล, อธิธัช สิรวริศรา, ฐิติมา โห้ลำยอง และอำนวย บุญรัตนไมตรี. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 22(1) : 117-193.

ศุภโชค สนธิไชย และลัดนา อนงค์ไชย. (2564). อัตลักษณ์สถาปัยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวย่านตลาดน้ำภาคกลาง. วารสารวิชาการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอาคาร คณะสถาปัยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(2) : 1-22.

อมรศิริ ดวงดี. (2555). ความตระหนักของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

อริสรา เสยานนท์. (2552). การเสริมสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนสันติสุข:กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3(1) : 115-129.

อุดม เชยกีวงศ์. (2552). ตลาดน้ำ: วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. 2nd ed. Sydney : Hodder Education.

Richards, G. (2020). Sustainable Travel Report 2020. [Online]. Available : https://www.gstcouncil.org/booking-com-sustainable-travel-report-2020/. Retrieved January 25, 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2023

How to Cite

รัศมีโชติ ว., จันทรศร ว., เกตุแก้ว ว., & ฉิรินัง เ. (2023). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาและตลาดน้ำดำเนินสะดวก. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 257–272. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.60