การขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนชายแดนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธราธร ภูพันเชือก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณภัทชา ปานเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นฤมล วลีประทานพร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อรุโนทัย อุ่นไธสง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณัฐวุฒิ ใจกล้า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.22

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนชุมชน, เศรษฐกิจหมุนเวียน, การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนชายแดนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนชายแดนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการและมีส่วนร่วม โดยศึกษาชุมชนชายแดนในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกในชุมชนทั้งหมด จำนวน 50 คน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเป็นผู้เข้าร่วมในการศึกษา โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์ตีความภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน    

         ผลการวิจัย 1) กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่ากระบวนการผลิตสินค้าชุมชนในอำเภอกาบเชิงเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและใช้วัตถุดิบที่หาได้ในชุมชน โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของชุมชนในการอุปโภคและบริโภค 2) การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มคุณค่า โดยการผลิตภาชนะจากเศษวัสดุในชุมชน อาหารสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมือง คุกกี้จากรำข้าว และผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักชีวภาพ 3) ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่าควรเริ่มด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชน และมุ่งเน้นการให้ความรู้ การตระหนักถึงทรัพยากรชุมชน และการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน และควรจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานภายในและภายนอกชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพึ่งพาอาศัยกันในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

พลิกฟื้นชนบทด้วยภูมิปัญญา ยึดหลักพอเพียงนำพารายได้ให้ชุมชน บทสัมภาษณ์ ทาดาชิ อูชิดะ ประธานโครงการ OVOP (Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee) อ้างถึงใน กรุงเทพธุรกิจ 24 สิงหาคม 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/business/811164. สืบค้น 24 สิงหาคม 2562.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์. 7(1) : 1-69.

รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรปประกอบข้อเสนอแนะนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย (กันยายน, 2557). "นโยบายระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน". สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ. กรุงบรัสเซล.

ณฐภศา เดชานุเบกษา, กุณฑีรา อาษาศรี, วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล, นาวา มาสวนจิก, และอมร โททำ. (2563). การจัดการสีเขียวที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3) : 15-31.

ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์. (2561, พฤษภาคม 3). คณบดีคณะวิทยาการจัดการ. สัมภาษณ์.

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2562). Circular Economy : เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ทุกคนควรรู้. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย : ประทุมธานี.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2560-2564, ฉบับทบทวน พ.ศ. 25563)

เศรษฐกิจหมุนเวียน โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/1898. สืบค้น 26 ธันวาคม 2561.

Chan, E. S.W. (2013). Managing green marketing: Hong Kong hotel managers Perspective International. Journal of Hospitality Management. 34 : 442-461.

Chin, T. A., Tat, H. H., and Sulaiman, Z. (2015). Green Supply Chain Management, Environmental Collaboration and Sustainability Performance. Procedia CIRP. 26 : 695-699.

Creswell, J. W. (2007). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches, 2nd ed. Thousand Oaks, CA, US: Sage Publications, Inc.

Nastasi. B. K. and Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology. 43(3) : 177-195.

Ghisellinia, P., Cialani, C., Ulgiatic, S. (February 15, 2016). A review on circular economy: the expected transition to a balanced interplay of environmental and economic systems. Sciencedirect. 114 : 11-32.

Ghisellinia, P., Cialani, C., Ulgiatic, S. (December 2017). Conceptualizing the circular economy: An analysis of 114 definitions. Resources, Conservation and Recycling. 127 : 221-232.

Yang, Chung-Shan., Lu, Chin-Shan., Haider, Jane Jing., Marlow, Bernard, P. (2013). The effect of green supply chain management on green performance and firm competitiveness in the context of container shipping in Taiwan," Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, Elsevier. 55(C) : 55-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

How to Cite

พัฒนฉัตรชัย น., นิธิชัยอนันต์ น., ภูพันเชือก ธ., ปานเจริญ ณ., วลีประทานพร น., อุ่นไธสง อ., & ใจกล้า ณ. (2023). การขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนชายแดนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 23–42. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่