ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการตนเองกับปัจจัยความเครียดของครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • สกุลรัตน์ ประทุมสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.39

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ปัจจัยความเครียด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการตนเองของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง                      2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยความเครียดครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการตนเองกับปัจจัยความเครียดของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้ช่วยโรงเรียนมัธยมในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี ระยอง จำนวน 147 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การจัดการตนเองของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีการจัดการตนเองด้านการกำกับตนเองมากที่สุด 2) ปัจจัยความเครียดของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยความเครียดด้านลักษณะงานที่ทำมากที่สุด 3) การจัดการตนเองด้านการประเมินตนเอง                  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยความเครียดด้านความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และการจัดการตนเองด้านการเสริมแรงตนเองมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัจจัยความเครียดด้านความกดดันภายในตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาภา เจริญรูป และณัฐพงษ์ จรทะผา. (2560). แนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสู่ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). เมื่อความเครียดของครูมีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.trueplookpanya.com/education/content/85895/-teaartedu-teaart-. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษาบริษัทเอจีซีออโตโมทีฟ จํากัด. สารนิพนธ์นี้หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2564). แนวปฏิบัติ 8 ประการในการกำกับควบคุมตนเอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://drpiyanan.com/2021/08/19/8-ways-to-improve-self-regulation/. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2565.

พรธิดา เทพประสิทธิ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความสามารถในการพัฒนาตนเองที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านบุคลิกภาพแบบประนีประนอมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(1) : 107-120.

พริษฐ์ วัชรสินธุ และธีรศักดิ์ จิระตราชู. (2564). วิบากกรรมระบบการศึกษาไทย สู่ข้อเสนอ 6 มาตรการ (6 Re’s) เพื่อหาทางออกร่วมกันในช่วงโควิด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://workpointtoday.com/covid-policy-lab-education/. สืบค้น 3 ธันวาคม 2565.

ภานุมาศ พฤกษชาติ. (2556). ความเครียดของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนึกงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรารัตน์ พัฒนวรเศรษฐ์. (2565). การตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวโพธิสัตวจริยา. วารสารบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 8(3) : 57-71.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ocsc.go.th/pm. สืบค้น 17 มกราคม 2566.

สุดแสง หมื่นราม. (2554). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อรรถกฤช ผ่องคณะ. (2560). แนวทางการแก้ไขปัญหาความเครียดของครูในโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจศรา ประเสริฐสิน, วรัญญา รุมแสง และปุญญากรณ์ วีระพงษานันท์. (2561). แนวคิดและพฤติกรรมบ่งชี้ในเรื่องการจัดการตนเองอย่างสร้างสรรค์. วารสารสุขศึกษา. 41(2) : 18-28.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 607-610.

HREX Thailand. (2022). 20 เคล็ดลับกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work Life Balance). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.hrnote.asia/personnel-management/190725-work-life-balance/. สืบค้น 18 มกราคม 2566.

UNICEF. (2001). What is the Life Skills Approach ?. Explore Ideas Articles, Opinions, and Research about Teaching and Learning. [Online]. Available : https://www.unicef.org/eca/media/10271/file. สืบค้น 25 มกราคม 2566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-07-2023

How to Cite

ประทุมสิทธิ์ ส., สารสว่าง ส., & สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการตนเองกับปัจจัยความเครียดของครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 299–314. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.39