แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.38คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, แนวทางการพัฒนา, ผู้บริหารสถานศึกษา, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวม 317 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.45 - 0.51 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการทำงานเป็นทีม ขั้นตอนที่ 1 สร้างแนวทาง ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินแนวทาง ผู้ประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมีค่าตั้งแต่ 0.38 – 0.30 เรียงลำดับจากสูงสุดถึงต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีบทบาทที่สมดุล ด้านวัตถุประสงค์มีความชัดเจน และด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีในทีม ตามลำดับ
- แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 หน่วย 12 แนวทาง ได้แก่ หน่วยที่ 1 ด้านการมีส่วนร่วม 3 แนวทาง หน่วยที่ 2 ด้านการมีบทบาทที่สมดุล 3 แนวทาง หน่วยที่ 3 ด้านวัตถุประสงค์มีความชัดเจน 3 แนวทาง และหน่วยที่ 4 ด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีในทีม 3 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมมีความเหมาะสมอยู่ในรดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จรีพร โชติพิบูลย์ทรัพย์. (2560). มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีมและการสร้างเครือข่าย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
รัชนีวรรณ อาจศิริ. (2560). การทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเมือง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ. 26 กรกฎาคม 2560. 1379 – 1390. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี.
วราภรณ์ สิงห์กวาง. (2560). รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิลวัณย์ จันทร์ไข่ และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2558). แนวทางการพัฒนาทีมงาน ของโรงเรียนในจังหวัดกําแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ปี 2564. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.