แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.37คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, แนวทางการพัฒนา, ผู้บริหารสถานศึกษา, มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวม 317 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.41 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแนวทาง ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินแนวทาง ผู้ประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมีค่าตั้งแต่ 0.41 – 0.37 เรียงลำดับจากสูงสุดถึงต่ำสุด คือ ด้านจินตนาการ รองลงมา ได้แก่ ด้านความยืดหยุ่น ด้านวิสัยทัศน์ และด้านความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ
- แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 หน่วย 12 แนวทาง ได้แก่ หน่วยที่ 1 ด้านจินตนาการ 3 แนวทาง หน่วยที่ 2 ด้านความยืดหยุ่น 3 แนวทาง หน่วยที่ 3 ด้านวิสัยทัศน์ 3 แนวทาง และหน่วยที่ 4 ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3 แนวทางผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 11(2) : 1-16.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสำหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. (2561). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักราชบัณฑิตยสภา.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พุทธชาติ ภูจอมจิต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(1) : 58-73.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ปี 2564. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิญญา โยธายุทธ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. Journal of Modern Learning Development. 5(4) : 51-61.
Qingling Zhang. (2016). Creative leadership strategies for primary school principles to promote teachers’ creativity in guangxi China. Kasetsart Journal of Social Sciences. 41(2) : 275-281.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.